ตอนที่ 191 แรงบันดาลใจมาโดยไม่ได้ตั้งใจเสมอ โดย Ink Stone_Fantasy
หลังจากนั้นพักใหญ่ๆ ในที่สุดลู่โจวก็พิมพ์ไปประโยคหนึ่ง
[ถ้าเกิดเราไม่พบมันล่ะ?]
ชายชราพิมพ์เร็วมาก ภายในห้านาที เขาก็ตอบคำถามลู่โจวกลับมา
[มันมีความเป็นไปได้แน่นอน ถ้าพลังงานมาตรฐานไม่พบสิ่งที่เราต้องการ เราก็ได้แต่ประกาศว่าแบบจำลองมาตรฐานสมมาตรยิ่งยวดที่เล็กที่สุดไม่มีอยู่จริง จากนั้นเราก็จะไปที่โซนพลังงานที่สูงขึ้นแล้วค้นหาสิ่งที่เราต้องการ การพิสูจน์ว่าผลงานก่อนหน้านี้ของเราผิดก็เป็นการค้นพบที่สำคัญเช่นกัน แม้ว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เราอยากเห็น…แต่ฉันคิดว่าเธอควรมั่นใจในทฤษฎีของเราให้มากกว่านี้ ฉันได้กลิ่นของชัยชนะแล้ว มันเป็นกลิ่นที่ไม่เลวเลย]
ตอนท้ายชราชรายังพูดเล่นกับเขาอีก
อย่างไรก็ตามลู่โจวไม่ได้มองในแง่ดีนัก ดังนั้นเขาจึงไม่มีรอยยิ้มเลย
บางทีเป็นเพราะเขาไม่เข้าใจความรู้สึกของการศึกษาในเขาวงกตแห่งโลกควอนตัมเป็นเวลาหลายสิบปี ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ปลูกฝังอารมณ์ขันที่นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีต้องใช้ในการเผชิญกับความลึกลับที่ยังแก้ไขไม่ได้
ถ้าเขาไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง เขาก็คงไม่ได้รู้สึกผิดหวังอะไร
อย่างไรก็ตามถ้างานวิจัยของเขามองไม่เห็นจุดจบ มองไม่เห็นอนาคต จะไม่ให้เขาขัดเคือง มันคงเป็นไปไม่ได้
ใช่แล้ว เรื่องนี้ทำให้เขารู้สึกแบบนั้น
แม้ว่าผู้ชนะรางวัลโนเบลก็โน้มน้าวเขาในสิ่งที่เขาไม่เข้าใจไม่ได้
นี่ไม่เหมือนกับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีแค่สองอย่าง ไม่ถูกก็ผิด
สิ่งที่ทำให้ลู่โจวไม่สบอารมณ์ก็คือฟิสิกส์เชิงทฤษฎีนั้นแตกต่างกัน มันอาจมีทั้งถูกและผิดในเวลาเดียวกัน แต่อยู่ที่ว่าต่างกันแค่ไหน
การพัฒนาทฤษฎีนั้นแตกต่างจากการทดลองอย่างมาก แม้แต่ทฤษฎีการทดลองที่เป็นไปไม่ได้ก็ถูกพัฒนามานาน
‘แบบจำลองมาตรฐาน’ที่นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีใช้อ้างอิงอย่างหนักนั้นก็’ไม่น่าเชื่อถือ’
ในปี 1960 ทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดถูกเสนอและมีทฤษฎีสตริงเกิดขึ้นภายหลังในปี 1980 อย่างไรก็ตามไม่กี่ปีมานี้ อนุภาคแปลกๆถูกค้นพบในห้องแล็บ โลกฟิสิกส์เชิงทฤษฎีเร่งรีบประกาศการเข้าสู่ยุค’หลังแบบจำลองมาตรฐาน’ และภายในสองปี การแกว่งกวัดของนิวทริโนก็นำแบบจำลองมาตรฐานกลับมา
ลู่โจวเข้าใจว่าทำไมแฟรงก์ถึงหมกมุ่นกับสมมาตรยิ่งยวดขนาดนี้
แน่นอนความดื้อรั้นนี้ไม่ใช่เพราะความรู้ผิวเผิน แต่เพราะทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา ช่องโหว่ของแบบจำลองมาตรฐานไม่อาจเติมเต็มได้ และทฤษฎีสตริงที่อาศัยทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดก็จะพังทลายเช่นกัน
ถ้าทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดถูกพิสูจน์ว่าผิด งั้นผู้คนก็จะตั้งคำถามว่าทำไมนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีถึงเสียเวลาไปครึ่งศตวรรษเพื่อทำงานกับแบบจำลองมาตรฐาน
มันคงดีถ้าฟิสิกส์เชิงทฤษฎีเป็นเหมือนข่าว…
ฉันค้นพบเรื่องนี้ในวันนี้แล้วล้มล้างมันในวันพรุ่งนี้ ทุกวันจะมีแต่ข่าวใหม่ๆ
แต่ในความจริงแล้ว นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีต้องเคร่งครัดและชัดเจน พวกเขาไม่อาจเปลี่ยนแปลงทฤษฎีของตนเองได้ตลอดเวลา
ลู่โจวไม่รู้ว่าการคาดการณ์สสารมืดของเขาจะถูกไหม
ทฤษฎีทั้งสองมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างขึ้น อย่างไรก็ตามทฤษฎีมีความแตกต่างกันอย่างมาก ลู่โจวหวังว่าเขาจะมีหลักฐานเพื่อลบล้างทฤษฎีของแฟรงก์ แต่น่าเสียดายที่เขาไม่มี
เขาต้องรอผลการทดลอง
ลู่โจวลังเลอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะพิมพ์ลงไป
จากนั้นเขาก็กด’ส่ง’
[บางทีคุณอาจถูกต้อง แต่ผมยังเชื่อในทฤษฎีของผม]
อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ศาสตราจารย์แฟรงก์ที่นั่งอยู่เบาะหน้าจู่ๆ ก็หัวเราะออกมาเสียงดัง พฤติกรรมของเขาทำให้นักศึกษาปริญญาเอกที่กำลังขับรถอยู่สะดุ้งตกใจ
นักศึกษาปริญญาเอกเหลือบมองทางคอมพิวเตอร์แล้วถาม “มีอะไรเหรอครับ?”
“ไม่มีอะไร” แฟรงก์ตอบและส่ายหน้า จากนั้นเขาก็ปิดโน้ตบุ๊คก่อนจะเผยรอยยิ้มออกมา “เด็กหนุ่มคนจีนที่ฉันเคยบอกเธอค่อนข้างตลก”
…
ลู่โจวรู้สึกไม่ดีนัก
เขาจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานาน จากนั้นเขาก็มองดูกระดาษเอสี่ที่กองอยู่บนโต๊ะก่อนจะเกาหัวอย่างไม่สบอารมณ์
ทำงานสองสายเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ผิด อันหนึ่งเป็นทฤษฎีจำนวน อีกอันเป็นการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชันและทฤษฎีกรุป มันเป็นปัญหาใหญ่ทั้งคู่
สิ่งที่น่าอึดอัดใจที่สุดก็คือแนะนำให้ใช้มิติพิเศษนอกสาขาวิชาสมมาตร นี่มันไม่ใช่คณิตศาสตร์ จากมุมมองของลู่โจว การแก้ปัญหานี้ด้วยมุมมองของสสารมืดจะหลีกเลี่ยงปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้มากมาย
นักคณิตศาสตร์ในตัวเขาบอกกับเขาว่านี่มันเป็นไปได้มาก
ลู่โจวเอนตัวพิงเก้าอี้แล้วเหม่อมองเพดาน สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ยังคงปรากฏขึ้นมาในสมองจนถึงขั้นที่เขาลืมความหิวไปโดยสิ้นเชิง
ทฤษฎีกรุป…
ทฤษฎีกรุป…
ถ้าเกิดทฤษฎีกรุปง่ายเหมือนทฤษฎีจำนวนล่ะก็นะ…แม้ว่าทฤษฎีจำนวนจะไม่ได้ง่ายอย่างนั้นจริงก็เถอะ…
เดี๋ยวนะ ทฤษฎีกรุป?!
แววตาของลู่โจวเบิกกว้าง จู่ๆ ในสมองของเขาก็มีข้อมูลปรากฏขึ้นมา
เขาไม่ได้คิดถึงลักษณะสูงสุดของ 750 GeV แต่เขากำลังคิดถึงข้อคาดการณ์ของปอลิญัก
เขาลุกจากเก้าอี้อย่างฉับพลันแล้วหยิบปากกาขึ้นมา ในเวลานี้สมองของลู่โจวกำลังหมุนล้านไมล์ต่อวิ
ทฤษฎีกรุปเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพมาก มันไม่เพียงแต่จะระบุว่าเป็นสองสิ่งประดิษฐ์ทางทฤษฎีของกลศาสตร์ควอนตัมในสาขาปริภูมิฮิลเบิร์ตและการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชันเท่านั้น แต่มันยังใช้ประโยชน์เมื่อจัดการกับจำนวนเฉพาะที่เป็นอนันต์ได้เช่นกัน
ยกตัวอย่างอาจารย์ทฤษฎีจำนวนทุกคนจะสอนเรื่องทฤษฎีของแฟร์มา
ทฤษฎีนี้มีวิธีการพิสูจน์ได้มากมาย การพิสูจน์ที่รวบรัดที่สุดก็คือทฤษฎีกรุป
การพิสูจน์ที่จำเป็นมีเพียงสามบรรทัดเท่านั้น
ถ้า α และ p เป็นจำนวนเฉพาะ สูตรของออยเลอร์คือ α^φ(p)≡1(modp) แต่ φ(p)=p-1, so α^(p-1)≡1(modp) แล้วคูณด้วย α ทั้งสองข้างจะได้ข้อสรุปคือ : เมื่อ α เป็นจำนวนธรรมชาติ และ p เป็นจำนวนเฉพาะ มี α^p≡α(modp)
มันง่ายไหม?
อันที่จริงทฤษฎีของแฟร์มาเป็นเพียงกรณีพิเศษกรณีเดียวของทฤษฎีของออยเลอร์
ในทางตรงกันข้าม ทฤษฎีของออยเลอร์สามารถแก้ด้วยทฤษฎีกรุปเช่นกัน อย่างไรก็ตามมันต้องใช้ครึ่งหน้ากระดาษ
ระหว่างนี้ ลู่โจวกำลังคิดว่าจะแก้ข้อคาดการณ์ของปอลิญักด้วยวิธีทอพอโลยียังไง เขาไม่ได้พิจารณาวิธีทางคณิตศาสตร์อย่างอื่นด้วยซ้ำ
อันที่จริงวิทยานิพนธ์มากมายใน arXiv พยายามแก้ข้อคาดการณ์ของปอลิญักด้วยวิธีทอพอโลยีของเขา
อย่างไรก็ตามลู่โจวไม่ได้คาดหวังเลยว่าเขาจะได้รับแรงบันดาลใจจากวิชาฟิสิกส์
มันคาดไม่ถึงเลยจริงๆ
ปากกาลูกลื่นในมือลู่โจวเริ่มหมุนควงเร็วขึ้นแล้วสุดท้ายมันก็กระเด็นหลุดมือไป จากนั้นจู่ๆ เขาก็ตบโต๊ะเสียงดัง
เขาทอดถอนใจแล้วกล่าวด้วยอารมณ์
“แนวคิดนี้อาจได้ผล!”
เมื่อเกิดแรงบันดาลใจ มันก็เหมือนคลื่นสึนามิ มันไม่มีทางหยุดได้!
ลู่โจวทิ้งปัญหา 750 GeV ไว้ข้างๆแล้วหยิบกระดาษเอสี่อันใหม่ออกมา
………………………………….