ตอนที่ 358 การรับรองของผู้ชนะรางวัลโนเบล

Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ

ตอนที่ 358 การรับรองของผู้ชนะรางวัลโนเบล โดย Ink Stone_Fantasy

เมื่อทฤษฎีถูกอธิบายอย่างละเอียดในการบรรยายจนถึงขั้นได้รับเสียงปรบมือยอมรับ ส่วนถามตอบก็ไม่จำเป็น

แน่นอนยังมีอีกหลายคนที่ถามคำถามระหว่างช่วงถามตอบ

ลู่โจวตอบทุกคำถามอย่างละเอียด

ครั้งนี้มันน่าตื่นเต้นกว่างานประชุม MRS ที่ไม่มีใครถามอะไรเลยอย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะมันหมายความว่าผู้เข้าร่วมการบรรยายให้ความสนใจจริงจัง

หลังการบรรยายจบลง นักศึกษาปริญญาเอกหลายคนจากมหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮ็ล์มก็ขึ้นมาบนเวทีเพื่อขอลายเซ็นของลู่โจว พวกเขาบอกว่าเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์เคมี

แม้ลู่โจวจะไม่คิดว่าประวัติศาสตร์คงไม่จำเรื่องเล็กน้อยแบบนี้หรอก แต่เขาก็ทำตามคำขอและเซ็นลายเซ็นบนหนังสือเรียนของพวกเขา

หลังเวที ศาสตราจารย์อาร์ตัลเดินมาหาลู่โจว เขาพูดด้วยน้ำเสียงจริงจัง “ไม่ว่าคณะกรรมการรางวัลโนเบลจะยอมรับทฤษฎีของคุณไหม แต่ฉันจะแนะนำคุณให้กับราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน

ลู่โจวยิ้ม “ขอบคุณครับ”

“ด้วยความยินดี” ศาสตราจารย์อาร์ตัลยิ้มให้ลู่โจว “เราต่างหากที่ควรขอบคุณ ขอบคุณที่มาบรรยายที่เบอร์ลิน เราไม่ได้เห็นการบรรยายอันน่าอัศจรรย์แบบนี้มาพักนึงแล้ว แม้ว่าฉันจะรับประกันไม่ได้ว่าคุณจะชนะรางวัลโนเบล แต่ฉันคิดว่าคุณสมควรได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง”

ตามกฎคัดเลือกผู้ชนะรางวัล อดีตผู้ชนะรางวัลโนเบลได้รับอนุญาตให้แนะนำผู้เข้าชิงรางวัล

อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น ทุกๆ ปีจะมีผู้ได้รับคำแนะนำหลายพันคน แต่หลังผ่านการคัดเลือกไปสองรอบ จะเหลือผู้ชนะรางวัลโนเบลเพียงคนเดียวเท่านั้น

ปกติแล้วชื่อแนะนำไม่อาจเปิดเผยได้ และข้อมูลการเสนอชื่อจะถูกเก็บเป็นความลับเป็นเวลา 50 ปี

แต่กฎข้อนี้ไม่ได้ถูกบังคับใช้ในขั้นตอนการแนะนำเบื้องต้น

ผู้ชนะรางวัลโนเบลจะพูดติดตลกกับคุณว่า พวกเขาจะ’แนะนำคุณให้กับราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน’ เรื่องนี้จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลที่มีโอกาสจนกระทั่งถึงวันที่เปิดเผยผู้ชนะในเดือนตุลาคม

แน่นอนนี่ใช้ไม่ได้กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

แม้แต่บริษัทพนันก็คาดเดารายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลได้ล่วงหน้า

ลู่โจวพูดติดตลก “คุณไม่ควรบอกผม แบบนี้มันก็ไม่เซอร์ไพรส์น่ะสิ”

อาร์ตัลหัวเราะ “แค่เสนอชื่อเท่านั้น อย่าตื่นเต้นกันไปนัก ถ้าคุณชนะรางวัลตอนอายุเท่าฉัน มันก็ถือว่าโชคดีแล้ว”

ลู่โจวมีสีหน้าจนใจ

“นั่นมัน…น่าเศร้าไปหน่อยนะ”

ถ้าจะชนะรางวัลโนเบลด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงทฤษฎี มันคงไม่สมจริงไปหน่อย

แต่ลู่โจวรู้สึกว่าเขาคงไม่ได้ใช้เวลาขนาดนั้น

ลู่โจวไม่กังวลเรื่องรางวัลโนเบล และเขาก็ไม่ได้กังวลเรื่องคำแนะนำของศาสตราจารย์อาร์ตัล

เขารู้สึกว่าเหรียญเป็นการรับรองงานวิจัยเขา แต่มันไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เขา

เขายังหนุ่ม

เขาแค่ต้องทำวิจัยของตัวเอง ไม่ช้าก็เร็ว เขาจะได้ในสิ่งที่เขาควรได้เอง

ไม่ว่าลู่โจวจะคิดเรื่องเหรียญยังไง แต่ทั้งชุมชนเคมีเชิงทฤษฎีต่างก็เดือดพล่านหลังการบรรยายนี้

การตอบสนองรุนแรงกว่าวิทยานิพนธ์ JACS ฉบับแรกของลู่โจวเสียอีก

เช่นเดียวกับปัญหารางวัลมิลเลนเนียมในคณิตศาสตร์ ในเคมีก็มีโจทย์ที่คล้ายกัน

อย่างไรก็ตามคำถามเหล่านี้ยาวกว่าหนึ่งสมการ มหาวิทยาลัยยังคงถกเถียงกันว่าโจทย์ไหนสำคัญกว่า

ทว่าแม้จะถกเถียงกัน ชุมชนเคมีเชิงทฤษฎีก็มีข้อสรุปร่วมกัน

ยกตัวอย่าง ในศตวรรษที่ยี่สิบมีปัญหาเคมีใหญ่ๆ อยู่สี่ปัญหา หนึ่งในนั้นคือวิธีสร้างทฤษฎีควอนตัมแมนี่บอดี้ที่ขึ้นกับเวลา

พูดง่ายๆ ก็คือปัญหาเกี่ยวข้องกับการคำนวณของอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เส้นทางการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี และต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยามากแค่ไหน

นอกจากนี้ก็คือจะตอบคำถามที่คล้ายกันโดยใช้ทฤษฎีได้อย่างไร

แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้าเป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น

แบบจำลองเชิงทฤษฎีนี้ที่มีต่อปัญหาเคมีใหญ่ทั้งสี่ก็เหมือนกับที่ทฤษฎีฮาร์ดี้-ลิตเติ้ลวู้ดมีต่อข้อคาดการณ์ของรีมันน์

ทฤษฎีบทของฮาร์ดี้-ลิตเติลวู้ดกำหนดว่าจำนวนของรากที่ไม่ชัดแจ้งในระยะห่างจำนวนหนึ่งของฟังก์ชันมันน้อยกว่า KT ในทางกลับกัน แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้ากำหนด’จุลเคมีของปฏิกิริยาเคมีบางประเภท’

หลังการบรรยายของลู่โจว สถาบันมักซ์พลังค์ก็ประกาศให้การสนับสนุนแบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้า

สิ่งที่น่าสนใจก็คือหลังจากสถาบันฟลิทซ์ฮาร์เบอร์ของสมาคมมักซ์พลังค์เริ่มให้ความเห็น ศาสตราจารย์มาร์ติน คาร์พลาส ผู้ที่เคยให้ความเห็นในแง่ดีต่อวิทยานิพนธ์นี้บนเนเจอร์ ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ JACS ทันที

ในวิทยานิพนธ์ของคาร์พลัส เขาอ้างอิงถึงวิทยานิพนธ์ JACS ของลู่โจวและอธิบายศักย์ประจุศูนย์ของอิเล็กโทรดโลหะพอลิคริสตัลลีนจากมุมมองเชิงทฤษฎีอย่างชัดแจ้ง

นี่เป็นปัญหาเคมีไฟฟ้าคลาสสิค

แม้ว่าการมีอยู่ของ ‘ศักย์ประจุศูนย์ของอิเล็กโทรดโลหะพอลิคริสตัลลีน ‘นั้นไม่อาจปฏิเสธได้ แต่มันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนเกี่ยวกับกลไกการก่อตัวภายใต้ภาวะกล้องจุลทรรศน์

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาด้วย’แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้า’นั้นไม่ยาก

เห็นได้ชัดว่า ผู้ชนะรางวัลโนเบลท่านนี้รู้ถึงศักยภาพของแบบจำลองเชิงทฤษฎีนี้ตั้งแต่สองเดือนก่อนแล้ว นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมวิทยานิพนธ์นี้ถึงถูกตีพิมพ์ในเวลาที่เหมาะสมแบบนี้

ดูเหมือนเขาจะชนะ

มันไม่ใช่แค่มาร์ติน คาร์พลัสที่สนใจทฤษฎีใหม่นี้

นักวิจัยเคมีเชิงทฤษฎีก็แสดงความสนใจต่อทฤษฎีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อเทียบกับ’วิธีโคห์น-ชาม’หรือ’ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น’ที่ด้อยกว่า แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้าแทบจะสร้างขึ้นเพื่อวัสดุเคมีไฟฟ้า มันทำให้เกิดรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการศึกษาวัสดุพอลิเมอร์เช่นกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริญญาเอกในสาขาวัสดุศาสตร์เชิงคำนวณและเคมีเชิงคำนวณ ทฤษฎีนี้เสมือนของขวัญของพระเจ้า

อย่างน้อยตอนนี้อาจารย์ที่ปรึกษาของพวกเขาก็มีอีกเหตุผลที่ให้พวกเขาอยู่ในทีมวิจัย

ขณะที่โลกกำลังถกเถียงกันว่าลู่โจวจะกลายเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดจากทฤษฎีนี้ได้ไหม สมาคมเคมีเยอรมันตัดสินใจมอบรางวัลผู้บุกเบิกทฤษฎีด้วยเหรียญอันโดดเด่น…

………………………………….