ตอนที่ 365 เงื่อนไขไม่ตรงตามที่กำหนด

Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ

ตอนที่ 365 เงื่อนไขไม่ตรงตามที่กำหนด โดย Ink Stone_Fantasy

ลู่โจวพบว่าเขาคิดมากไป

เมื่อเขาถามเรื่องนี้กับระบบ ไม่เพียงแต่ระบบไม่ให้คำตอบเขาเท่านั้น ระบบถึงกับไม่ตอบสนองอะไรเลย เขาอดสงสัยไม่ได้ว่าระบบเสียหรือเปล่า…

หลังพยายามถามไปสิบรอบ ในที่สุดระบบก็ให้คำตอบแก่เขา

มันมีเพียงประโยคเดียวเท่านั้น

[เงื่อนไขไม่ตรงตามที่กำหนด]

ลู่โจวอ่านข้อความตรงหน้าแล้วเริ่มคิด

“เงื่อนไขไม่ตรงตามที่กำหนด…นี่หมายความว่าระดับวิชาหรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นยังเป็นไปไม่ได้งั้นเหรอ?”

ระบบไม่ตอบคำถามที่สองของเขา มันเมินเขาโดยสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตามลู่โจวไม่ได้หัวเสียกับระบบ

เพราะสำหรับเขาแล้ว คำตอบเดียวก็เกินพอ…

หลังการทดลองจบลง ศาสตราจารย์แคริเบอร์ก็เชิญทั้งสองไปดื่มกาแฟที่บริเวณพักผ่อนของเวนเดลสไตน์ 7-X

ผู้ชนะรางวัลโนเบล อนาคตผู้ชนะเหรียญฟิลด์ส และวิศวกรนิวเคลียร์ฟิวชั่นอาวุโสกำลังนั่งอยู่ที่โซฟา พวกเขาดื่มกาแฟไปคุยกันไปเกี่ยวกับปัญหาความร่วมมือของเวนเดลสไตน์ 7-X กับ ITER

ITER เป็นโปรเจกต์เตาปฏิกรณ์การทดลองเชิงนิวเคลียร์ความร้อนระหว่างประเทศ เป็นแหล่งเงินทุนหลักของพวกเขา

อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์แคริเบอร์ไม่ได้มอง ITER ในแง่ดีนัก เขารู้สึกกังวลอย่างล้ำลึกกับหัวข้อนี้

“ศักยภาพของนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ควบคุมได้ยิ่งใหญ่มาก แต่โปรเจกต์ ITER ไม่ได้ไปได้สวยนัก มันผลาญเงินหลายร้อยล้านเหรียญทุกปี และผลการวิจัยก็ไม่เป็นที่พอใจ แม้แต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็หมดความอดทน เพื่อให้เงินทุนเวนเดลสไตน์ 7-X ฉันถึงกับต้องปิดกลุ่มการทดลอง WEGA ทิ้งไป”

ศาสตราจารย์คลิทซิ่งกำลังจิบกาแฟ เขาใช้ถ้วยกาแฟปิดบังสีหน้าของตัวเอง

เขากำลังหัวเราะ

แม้เขาจะรู้ว่าเขาไม่ควรหัวเราะ แต่เขาก็หัวเราะให้กับความคิดของพวกนักวิจัยที่’ถูกตามใจสนเสียคน’ที่เงินกำลังหมดอย่างอดไม่ได้

ศาสตราจารย์แคลิเบอร์ถอนหายใจ

“นิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ควบคุมได้เป็นโปรเจกต์ที่มีระบบ ไม่ว่าจะเป็นความเฉื่อยหรือสนามแม่เหล็ก โทคาแมกหรือสเตลล่าร์เรเตอร์ มันก็ต้องแก้ไขปัญหามากมายถึงจะเกิดผลลัพธ์ ตอนนี้เรายังแก้ปัญหาพื้นฐานไม่ได้สักข้อ”

ลู่โจวถาม “คุณคิดว่าปัญหาอะไรที่จำเป็นต้องแก้ไข?”

ศาสตราจารย์แคริเบอร์กล่าว “ในแง่วิศวกรรม เราต้องการสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อทำให้แมกเนติกคอนไฟน์เม้นท์ของพลาสมาให้สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่ทางออกที่ดี สนามแม่เหล็กที่ใหญ่ขึ้นหมายถึงกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ กระแสไฟฟ้าจะปล่อยความร้อนออกมาผ่านตัวนำ เราจะต้องแช่ลวดด้วยฮีเลียมเหลวเพื่อให้ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิคงที่และเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าทำให้ลวดร้อนขึ้น”

“มีสนามแม่เหล็กยังไม่พอ เราต้องหาวิธีควบคุมสนามแม่เหล็ก…แน่นอนโชคดีที่ข้อได้เปรียบของการออกแบบสเตลล่าร์เรเตอร์คือเราไม่ต้องใช้เทคโนโลยีการสร้างความร้อนไม่เหมือนกับอุปกรณ์ของโทคาแมก เราไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอย่างฟิล์มเพี้ยน พื้นผิวแม่เหล็กฉีกขาด ฯลฯ”

ศาสตราจารย์แคริเบอร์ยิ้มและพูดด้วยน้ำเสียงติดตลก

“ปัญหาวิศกรรมเหล่านี้ก็ยังต้องย้อนกลับไปที่วัสดุ”

“ถ้ามีวัสดุที่เป็นวัสดุยิ่งยวดได้ในอุณหภูมิปกติหรืออย่างน้อยก็ภายใต้สภาวะที่รุนแรงน้อยกว่า เราจะสามารถสร้างสนามแม่เหล็กประดิษฐ์ขนาดใหญ่เพื่อจำกัดพลาสมา ปัญหาหลายอย่างก็จะถูกแก้ไข”

วัสดุยิ่งยวดเป็นสิ่งจำเป็น

ลู่โจวจดคำพูดอีกฝ่ายลงสมุดที่พกติดตัวมาด้วย

“ถ้าคุณอยากแก้ไขปัญหายากๆ คุณต้องแก้ปัญหาที่ยากกว่านั้นก่อน คุณจะสื่อแบบนี้ใช่ไหม?” ศาสตราจารย์คลิทซิ่งกล่าว “ฉันคิดว่าถ้ามีวัสดุยิ่งยวดที่อุณหภูมิปกติ ไม่เพียงแต่ปัญหาวัสดุยิ่งยวดได้รับการแก้ไข ปัญหาพลังงานมากมายจะถูกแก้ไขด้วยเช่นกัน”

“เพราะงั้นนี่จึงเป็นเพียงสมมุติฐาน” แคริเบอร์ยักไหล่ “ถ้าเราไม่สามารถพัฒนาวัสดุ เราต้องพัฒนาการออกแบบขดลวดและเพิ่มความแข็งแกร่งของสนามแม่เหล็กจากมุมมองอื่น นอกจากนี้จากความยากในการใช้งาน มันดูไม่ดีต่อสาขาวิชาเชิงทฤษฎีเช่นกัน”

ลู่โจวถาม “มีปัญหาทฤษฎีเชิงซ้อนที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ควบคุมได้ด้วยอย่างนั้นเหรอ?”

ศาสตราจารย์คลิทซิ่งยิ้มและช่วยแคริเบอร์ตอบคำถาม “มีประโยคหนึ่งที่มีชื่อเสียงในฟิสิกส์ ‘more is different’ แม้ว่าพลาสมาจะใช้สมการของแมกซ์เวลล์ แต่มันก็หาข้อสรุปไม่ได้ ยิ่งมีอนุภาคมากเท่าไหร่ ระบบก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่กลศาสตร์ควอนตัมก็เอามาใช้ไม่ได้ คุณน่าจะรู้เรื่องนี้ใช่ไหม?”

ลู่โจวพยักหน้า

ขณะที่เขาวิจัยแบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างพื้นผิวสัมผัสเคมีไฟฟ้า ตัวแปรในสมการของเขาเกือบเป็นสามเท่าของจำนวนอนุภาคที่มีในระบบ แม้แต่แอนตันก็ทำงานพักใหญ่กว่าจะคำนวณคำตอบออกมาได้

ในทางกลับกันพลาสมาในสเตลล่าร์เรเตอร์มีปัญหาเคมีที่ซับซ้อนกว่านั้นอีก

มันก็เหมือนกับกลศาสตร์ของไหล แม้ทุกคนจะรู้จักสมการนาเวียร์-สโตกส์พื้นฐาน แต่มันก็ไม่สามารถนำมาใช้กับปรากฏการณ์ความปั่นป่วนที่รบกวนนักฟิสิกส์มากว่าสองร้อยปี

ปรากฏการณ์ความปั่นป่วนพบเห็นในพลาสมาเช่นกัน เนื่องจากสนามแม่เหล็กภายนอก การไหลแบบปั่นป่วนของพลาสมาจึงซับซ้อนยิ่งกว่าและคาดการณ์ได้ยากยิ่งกว่าการไหลทั่วไป

เนื่องจากมันเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายในเชิงทฤษฎี มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายพฤติกรรมของพลาสมา

ดังนั้นเมื่อนักวิจัยทำการทดลองพลาสมา พวกเขาจึงหวังจะสร้างแบบจำลองที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของพลาสมาได้

ศาสตราจารย์แคริเบอร์เห็นว่าลู่โจวรู้สึกสนใจ เขาจึงอดเชิญชวนไม่ได้

“ถ้าคุณสนใจนิวเคลียร์ฟิวชั่นขนาดนี้ ทำไมคุณไม่เข้าร่วมโปรเจกต์ ITER ล่ะ? เรามักมองหานักคณิตศาสตร์ที่มีความสามารถมาโดยตลอด”

ลู่โจวคิดอยู่ชั่วครู่ก่อนจะตอบ “น่าเสียดาย ผมยอมรับคำเชิญไม่ได้ ผมต้องกลับพรินซ์ตัน แถมผมยังต้องไปเตรียมตัวร่วมงานประชุมคณิตศาสตร์ปีหน้าอีก”

ลู่โจวยิ้ม “อย่างไรก็ตามผมจะจดปัญหาเหล่านี้ไว้และจะนำไปศึกษาเป็นงานอดิเรก ผมรับประกันไม่ได้ว่าจะได้อะไรไหม แต่มันอาจเป็นประโยชน์ในสักวันหนึ่ง”

แม้จะถูกปฏิเสธ ศาสตราจารย์แคริเบอร์ก็ไม่ได้คิดมากนัก กลับกันเขายิ้มแล้วกล่าว “จริงหรือ? งั้นฉันจะเฝ้ารอผลการวิจัยของคุณ”

อย่างไรก็ตาม ตอนที่แคริเบอร์กล่าวประโยคนี้ เขาไม่ได้ดูสนใจนัก เขาคิดว่าลู่โจวแค่ล้อเล่น

ในความคิดของเขา ปัญหาเหล่านี้ย่อมไม่อาจแก้ได้ด้วยงานอดิเรกของนักวิจัย…

ศาสตราจารย์แคริเบอร์ทำงานที่สถาบันวิจัยแห่งนี้มาหลายปีแล้ว ดังนั้นเขาจึงรู้ดีว่าปัญหาเหล่านี้ยากขนาดไหน…

………………………………….