ตอนที่ 390 แผนก่อนเดินทางกลับจีน

Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ

ตอนที่ 390 แผนก่อนเดินทางกลับจีน โดย Ink Stone_Fantasy

เที่ยวบินไปจีนของลู่โจวคือหลังคริสต์มาส

ยังมีเวลาเหลือสามวัน และเขามีแผนทำธุระบางอย่าง พอเขากลับมาพรินซ์ตันหลังหยุดพักผ่อน เขาจะได้ไม่ต้องยุ่งมือเป็นระวิง

เรื่องแรกที่เขาต้องจัดการคือโปรเจกต์วิจัย’การมีอยู่ของผลเฉลยที่ราบรื่นของสมการนาเวียร์-สโตกส์ในสามมิติที่บีบอัดไม่ได้’

นอกจากปรากฏการณ์ความปั่นป่วนพลาสมา นี่เป็นโปรเจกต์วิจัยที่สำคัญที่สุดของลู่โจว

นับตั้งแต่’กลุ่มโปรเจกต์วิจัย NS ‘ถูกก่อตั้ง มีการประชุมหารือกันครั้งเดียวเท่านั้น

วันต่อมา ลู่โจวไปนาสเซาฮอลล์เพื่อส่งหนังสือลา จากนั้นเขาก็ไปออฟฟิศของศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนที่ตึกสาขาคณิตศาสตร์

เมื่อเขามาถึง เขาก็เห็นศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนกำลังคุยเรื่องงานประชุมสมาคมคณิตศาสตร์สหรัฐของเดือนหน้ากับลูกศิษย์

เมื่อศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนเห็นลู่โจวถือหนังสือลาอยู่ในมือ เขาก็ยิ้ม

“คุณจะกลับจีนเหรอ?”

ลู่โจวตอบ “ใช่ เทียบกับคริสต์มาส ตรุษจีนเป็นวันหยุดที่แท้จริงของผม ผมจะกลับมากลางๆเดือนกุมภา”

ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนพยักหน้าแล้วกล่าวด้วยน้ำเสียงสบายๆ “คุณต้องพักผ่อนบ้างจริงๆ มีนักวิชาการไม่กี่คนหรอกที่ทำโปรเจกต์วิจัยหลายโปรเจกต์ตัวเป็นเกลียวในเวลาสั้นๆ”

“ตัวเป็นเกลียว?” ลู่โจวส่ายหน้า “ผมไม่ได้รู้สึกแบบนั้นเลย เพราะการวิจัยเป็นสิ่งที่น่าสนุกและน่าสนใจ”

“ตอนที่ฉันหนุ่มๆฉันก็คิดเหมือนกัน” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนยิ้ม “แต่ฉันพบว่าไม่ว่าปัญหาคณิตศาสตร์จะสำคัญแค่ไหน ความพอประมาณต่างหากที่สำคัญ”

ลู่โจวกล่าว “…นั่นเป็นเพราะคุณคว้ารางวัลทุกอย่างมาหมดแล้ว”

เมื่อต้นปี มูลนิธิรางวัลวูล์ฟประกาศรายชื่อผู้ชนะ และรางวัลที่สำคัญที่สุดก็ถูกมอบให้แก่ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน

รางวัลวูล์ฟถือเป็นรางวัลคณิตศาสตร์สูงสุด ส่วนใหญ่จะถูกมอบให้แก่นักคณิตศาสตร์ที่อายุมากกว่าสี่สิบปีที่มีผลงานในชุมชนคณิตศาสตร์มายาวนาน

เฟฟเฟอร์แมนเป็นผู้ชนะเหรียญฟิลด์สที่อายุน้อยที่สุด และตอนนี้เขายังได้รางวัลคณิตศาสตร์สูงสุดอีก ไม่มีรางวัลคณิตศาสตร์ไหนให้เขาตั้งเป้าหมายแล้ว

“คุณหมายความว่ายังไง? จำนวนรางวัลยังไม่พอเลย แถมฉันยังพลาดรางวัลอาเบลอีก” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนกล่าวแล้วเผยรอยยิ้มออกมา “พูดง่ายๆ หาความสุขให้ชีวิตบ้าง ฉันจะไม่ส่งอีเมลหาคุณจนเดือนกุมภา”

ลู่โจวถาม “แล้วสมการนาเวียร์-สโตกส์ล่ะ?”

ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนกล่าว “ไว้เราคุยกันหลังมกรา”

เมื่อลู่โจวเห็นว่าเฟฟเฟอร์แมนคงไม่เปลี่ยนใจ เขาจึงยักไหล่

“ถ้าคุณว่างั้นก็ได้”

นอกจากโปรเจ็คร่วมมือกับศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน โปรเจกต์ข้อคาดการณ์ของคอลลาทซ์ของลู่โจวก็ปิดโปรเจกต์แล้วเหมือนกัน

บางทีอาจเป็นเพราะอิทธิพลของลู่โจวหรือเป็นเพราะความนิยมของข้อคาดการณ์ของคอลลาทซ์ วิทยานิพนธ์บน arXiv จึงเป็นที่สนใจมาก

หลายคนก็บอกว่าข้อคาดการณ์ของคอลลาทซ์เป็นอีก’ความสำเร็จ’ของวิธีสร้างองค์ประกอบกรุป

สิ่งที่ผู้คนประหลาดใจที่สุดก็คือ แทนที่จะเป็นลู่โจว มันเป็นศิษย์เขาที่เป็นคนประยุกต์ใช้วิธีนี้

ตอนเช้าวันที่ 27 ก่อนลู่โจวบินกลับจีนหนึ่งวัน

ลู่โจวนั่งอยู่ในออฟฟิศสถาบันการศึกษาขั้นสูง เขากำลังอ่านวิทยานิพนธ์ของเวร่า

แม้ว่าเขาจะอ่านกระบวนการพิสูจน์ทั้งหมดมาแล้ว แต่ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา ลู่โจวยังจำเป็นต้องตรวจสอบรายละเอียดทุกจุดก่อนจะให้พวกเขาส่งวิทยานิพนธ์อย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้เขายังต้องกำหนดผู้เขียนวิทยานิพนธ์

ปกติแล้ว ชื่อของลูกศิษย์ทั้งสามจะถูกระบุไว้ตามลำดับผลงาน

ส่วนลู่โจว เขาจะเป็นผู้เขียนวิทยานิพนธ์ลำดับที่สี่

แน่นอนในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา เขามีสิทธิ์อ้างว่าผลการวิจัยเป็นของตนเอง อย่างไรก็ตามเขาย่อมไม่มีทางทำอะไรแบบนั้น

ปกติแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาจะไม่ยอมมอบผลการวิจัยแบบนี้ให้ลูกศิษย์ แต่ลู่โจวไม่สนใจ

ข้อคาดการณ์ของคอลลาทซ์ไม่ได้มีค่าอะไรกับลู่โจว

ต่อให้ลู่โจวจะแอบอ้างผลงาน มันก็เหมือนกับการประดับหน้าเค้กเท่านั้น

นอกจากชื่อผู้เขียน วิทยานิพนธ์ประเภทนี้จะระบุว่าผู้เขียนทำอะไรบ้าง สถาบันวิจัยส่วนใหญ่สนใจส่วนนี้มากกว่าอันดับของผู้เขียน

อย่างไรก็ตามลู่โจวสังเกตว่าเวร่าไม่ได้ระบุผลงานของผู้เขียนแต่ละคน กลับกันเธอเขียนว่า’ผู้เขียนทุกคนมีผลงานเท่าเทียมกัน’แล้วปล่อยส่วนนี้ไว้

การใส่ประโยคนี้ลงในวิทยานิพนธ์หมายความว่าผู้เขียนทุกคนมีส่วนร่วมเท่ากันและทุกคนก็มีความสำคัญต่อวิทยานิพนธ์

นี่หมายความว่าผู้เขียนทุกคนในวิทยานิพนธ์จะถือว่ามีอันดับเท่ากัน

“ไม่เป็นไรเหรอ?” ลู่โจวอ่านวิทยานิพนธ์ทั้งฉบับก่อนจะหันไปมองเวร่า “มันไม่ยุติธรรมต่อคุณเลย”

แม้ว่าลู่โจวจะไม่ได้มีส่วนร่วมในโปรเจกต์โดยตรง แต่เขาก็ติดตามความคืบหน้าของโปรเจกต์ตลอด

ยกตัวอย่างเช่น เขาจะเข้าร่วมประชุมหารือประจำสัปดาห์ทุกครั้งที่อยู่พรินซ์ตัน และเขาจะอ่านรายงานความคืบหน้าอย่างระมัดระวัง

มันไม่ได้พูดเกินจริงเลยว่าเวร่ารับผิดชอบเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของโปรเจกต์วิจัย ส่วนฮาร์ดี้กับฉินเยว่รับผิดชอบเพียงสามสิบเปอร์เซ็นต์ที่เหลือเท่านั้น

เวร่าส่ายหน้า “ฉันแค่อยากวิจัยปัญหาพวกนี้เฉยๆ ส่วนใครมีผลงานเท่าไหร่…ฉันไม่ว่ามันไม่สำคัญ”

“ถ้าคุณคิดแบบนั้นจริง งั้นฉันก็เคารพการตัดสินใจของคุณ” ลู่โจวไม่ได้พยายามโน้มน้าวเธอ

ฉินเยว่ใช้ความพยายามไปมาก ส่วนฮาร์ดี้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตามเวร่ายอมให้พวกเขามีผลงานเท่ากัน ลู่โจวจึงไม่ติดใจเรื่องนี้อีก

อย่างมากลู่โจวแค่รู้สึกสงสารเวร่าเล็กน้อย

ลู่โจวหยุดไปแป๊บหนึ่ง เขาวางวิทยานิพนธ์ลงบนโต๊ะแล้วพูดกับเวร่าต่อ

“จากข้อตกลงเดิม ฉันจะช่วยพวกคุณจบการศึกษา คุณจะได้รับใบปริญญาในอีกสามถึงสี่เดือน ถ้าคุณจะเรียนปริญญาเอกกับฉัน คุณควรสมัครให้เร็วที่สุด ฉันจะได้ยอมรับการสมัครของคุณ”

ลู่โจวตระหนักดีถึงความสามารถของลูกศิษย์ การสัมภาษณ์พวกเขาจึงเป็นเรื่องง่าย

เวร่าพยักหน้าอย่างจริงจัง

“ค่ะ ฉันเข้าใจแล้ว!”

………………………………….