ตอนที่ 435 กุญแจสำคัญ (รีไรท์) โดย Ink Stone_Fantasy
โดยสรุปแล้ว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้เก่งกาจถึงเพียงนั้น การคำนวณที่ซับซ้อนเช่นนี้ก็อาจทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เอ๋อได้เช่นกัน
แม้ว่ากฎการเคลื่อนที่ที่เกี่ยวข้องกับพลศาสตร์ไมโครของไหลจะอยู่ภายใต้กรอบของกลศาสตร์คลาสสิก แต่เมื่อจำนวนไมโครฟลูอิดถึงขีดจำกัด มันก็เปลี่ยนเป็นอะไรที่ซับซ้อนได้
ตามที่ศาสตราจารย์กรีนกล่าว คอมพิวเตอร์ทั่วไปอาจไม่เหมาะกับงานเช่นนี้ การจำลองพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเท่านั้น นอกจากนี้ การจำลองของไหลเชิงตัวเลขทั้งหมดก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ซับซ้อนอีกด้วย
แต่โชคยังดี ด้วยความช่วยเหลือมากมายและการทำงานหนักนับไม่ถ้วนของลู่โจว ท้ายที่สุดแล้ว ทีมของศาสตราจารย์กรีนก็ทำแบบจำลองเชิงตัวเลขได้สำเร็จ
ในระหว่างที่การคำนวณเสร็จสิ้นลง ผู้คนในห้องควบคุมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ก็เริ่มตะโกนส่งเสียงเชียร์ออกมา ผู้คนต่างพากันดีใจและปลาบปลื้มพร้อมกับเฉลิมฉลองชัยชนะที่ยากเย็นครั้งนี้
เมื่อไม่กี่นาทีก่อน พวกเขายังใช้คอมพิวเตอร์โวลเนแมนเพื่อตรวจสอบสมมติฐานของฟิสิกส์พลาสมาอยู่เลย และไม่ว่าจะมองจากมุมมองใด การประสบความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก
พวกเขาเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่รู้ว่าเรื่องนี้ยากแค่ไหน
แน่นอน งานนี้สำเร็จได้ก็เพราะผู้คนในทีมช่วยกันคิดและสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนขึ้นมา
ลู่โจวที่ยืนอยู่ข้างศาสตราจารย์กรีนพลันกล่าวคำพูดขึ้น “เราทำสำเร็จแล้วหรือ?”
“ดูเหมือนจะใช่นะ อันที่จริง ฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่านี่คือผลลัพธ์ที่คุณกำลังตามหาอยู่หรือเปล่า…” ศาสตราจารย์กรีนพลันกล่าวคำพูดและยื่นยูเอสบีให้ลู่โจว “บอกตรงนี้เลยนะ ตอนแรกฉันไม่คิดว่ามันจะทำสำเร็จด้วยซ้ำ”
“ขอบคุณมากครับ!”
ลู่โจวมองไปยังยูเอสบีที่มือด้วยสายตาเป็นประกาย
“ไม่เป็นไรเลย” ศาสตราจารย์กรีนตบไหล่ลู่โจว “ถ้าวิจัยประสบความสำเร็จแล้ว ก็อย่าลืมเพิ่มชื่อศูนย์จอนโวลเนแมนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ลงไปด้วยล่ะ”
ลู่โจวเผยยิ้ม “ได้เลยครับ”
…
หลังจากได้รับข้อมูลการทดลองมาแล้ว ลู่โจวได้เริ่มเขียนวิทยานิพนธ์ของตนทันที
อันที่จริง เมื่อสองสัปดาห์ก่อนที่โครงการซูเปอร์คอมพิวเตอร์โวลเนแมนจะเริ่มขึ้น… ลู่โจวได้เขียนวิทยานิพนธ์ของตนเองไปบ้างแล้ว ตอนนี้เขาเพียงต้องเพิ่มข้อมูลและรูปภาพที่เพิ่งจะได้มาลงในวิทยานิพนธ์เท่านั้น
ทันทีที่ลู่โจวเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จ เขาก็พลันเอนหลังพิงเก้าอี้… ในระหว่างนั้น ลู่โจวก็ได้มองไปยังวิทยานิพนธ์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของตนอีกครั้ง และตอนนั้นแหละ เขาก็ได้รู้สึกถึงความสำเร็จ…
ทันใดนั้น คิ้วของลู่โจวก็พลันกระตุกขึ้นมาทันที
ท่ามกลางความสุข ลู่โจวก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกกังวล
ถ้าหากเราต้องค้นคว้ามันต่อไป… ทุกอย่างที่ทำอยู่จะเป็นอันตรายไหมนะ?
สำหรับนิวเคลียร์ฟิวชัน มันเป็นเทคโนโลยีที่อันตรายอย่างไม่ต้องสงสัยเลย!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมของมนุษย์!
ลู่โจวพบันจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมครุ่นคิด
“เราควรจะมีแผนสำรอง”
ถึงกระนั้น ลู่โจวเองก็ยังอยู่ห่างไกลความสำเร็จอยู่มาก
แต่ถ้าวันหนึ่ง เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ล่ะ?
กล่าวอีกนัยหนึ่ง…ถ้าหากนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ฟิวชันของโลก ได้สร้างเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันที่ควบคุมได้ขึ้นมาจริง ๆ ล่ะ? ในตอนนั้น รัฐบาลทั่วโลกจะต้องจับตามองพวกเขาแน่
อันที่จริง ลู่โจวไม่รู้เลยว่ามันจะกลายเป็นเรื่องดีหรือร้าย
แต่ลู่โจวก็คิดได้ว่าตนนั้นมีกุญแจสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดอยู่
ทั้งนี้ มันอาจนำไปสู่อนาคตที่ดีกว่า หรือไม่ก็อาจเป็นคำสาปที่จะทำลายล้างมนุษยชาติได้ในทันใด…
ลู่โจวพลันขมวดคิ้วและปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับลุกขึ้น
เวร่าพลันสังเกตเห็นความผิดปกติของลู่โจว เธอจึงเอียงศีรษะและกล่าวคำถาม “โอเคไหมคะอาจารย์?”
ลู่โจวพลันส่ายหัว “ไม่มีอะไร… ฉันขอออกไปข้างนอกสักหน่อยนะ”
ด้านนอกศูนย์วิจัย ดวงอาทิตย์กำลังเริ่มตกดิน
ระหว่างที่ลู่โจววิ่งไปรอบทะเลสาบคาร์เนกีสองรอบ เขาก็รู้สึกดีขึ้นมาก
อันที่จริง เขาไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ตนเองคิดค้นเลย
เมื่อโลกกำลังพัฒนาขึ้นไป มันก็ควรจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี และไม่ว่ากระบวนการในการพัฒนาจะซับซ้อนขนาดไหน ประวัติศาสตร์จะผลักดันมนุษยชาติไปข้างหน้าและสร้างอนาคตที่ดีกว่าขึ้นมา
ไม่ว่าอะไรก็ตามที่อยู่ในกล่อง…
ลู่โจวก็ยินดีที่จะเสี่ยงเพื่อเปิดมัน!
นี่คือภารกิจของนักวิชาการ
ทันทีที่ลู่โจวกลับมาถึงบ้าน เขาก็รีบขึ้นห้องไปและเปิดแล็ปท็อปขึ้นเพื่อทำงานทันที
ระหว่างมองไปยังวิทยานิพนธ์ ลู่โจวก็พลันเคาะนิ้วลงบนโต๊ะและเริ่มคิด
เราควรจะเผยแพร่ในสาขาไหนดีล่ะ?
ธรรมชาติ?
หรือวิทยาศาสตร์?
วารสารทั้งสองฉบับนี้ดูเหมือนจะไม่เหมาะสำหรับวิทยานิพนธ์เชิงวิชาการที่เน้นข้อมูลเท่าไหร่นัก ท้ายที่สุดแล้ว การประยุกต์ใช้ของเอลเมนฟอร์ยและวิธีเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ต่าง ๆ จะทำให้มันอ่านยากขึ้นมาก
ไม่นานนัก ดวงตาของลู่โจวพลันลุกวาวขึ้นมาในทันใด เขานึกออกแล้ว! สำนักวารสารที่ลู่โจวจะต้องนำไปตีพิมพ์ด้วยคือก็คือ…
พีอาร์เอ็กซ์!
มันคือสำนักวารสารที่คู่ควรที่สุดแล้ว!
…
พีอาร์แอล และ พีอาร์เอ็กซ์ ต่างก็เป็นวารสารของสมาคมเคมีแห่งอเมริกา มันมีแบบฟอร์มก็คือในสี่หน้าจะจำกัดคำที่สามารถใช้ได้เพียงสามพันเจ็ดร้อยห้าสิบคำเท่านั้น! พีอาร์แอล มีชื่อเต็มคือ ‘ทบทวนวรรณกรรมทางเคมี’ ซึ่งในทางกลับกัน พีอาร์เอ็กซ์ ไม่มีข้อจำกัดอะไรเลยทั้งจำนวนคำและจำนวนหน้า…
แต่สิ่งเดียวที่น่าหนักใจก็คือค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์นั้นมีมูลค่าถึงหนึ่งพันห้าร้อยดอลลาร์สหรัฐ… โดยค่าธรรมเนียมนั้นจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์ สำหรับนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้ถือว่าสูงมาก
แต่สำหรับนักวิจัยที่ไม่ได้โด่งดังอะไร พวกเขาก็มักจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
เนื่องจากกฎนี้ พีอาร์เอ็กซ์ ในปี 2011 จึงได้เผยแพร่วิทยานิพนธ์ไปจำนวนสามสิบแปดเรื่องแล้ว ทุกเรื่องมีหลายหน้าและหนามาก
จนถึงปี 2013 เมื่อการประชุมของสมาคมฟิสิกต์แห่งชาติถูกจัดขึ้นในเดือนมีนาคม พวกเขามีมติตัดสินใจร่วมกันว่าจะควบคุมจำนวนวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ใน พีอาร์เอ็กซ์ อย่างเคร่งครัด และมันจะถูกจำกัดให้ลงเพียงเดือนละหกถึงแปดเล่มเท่านั้น วิทยานิพนธ์แต่ละฉบับจะต้องถูกจัดทำขึ้นเพราะต้องการแก้ไขปัญหาเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องมีวิทยานิพนธ์ย่อยอะไรให้มากความ
ถึงกระนั้น ทั้งการดำเนินงานวิจัย เนื้อหาและวิธีการ มันไม่สามารถใส่รายละเอียดอะไรได้เยอะ ซึ่งนั่นจะทำให้วิทยานิพนธ์มีเนื้อหาที่ไม่จำเป็นมากเกินไป…
ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ตีพิมพ์ใน พีอาร์เอ็กซ์ จึงได้รับการคัดกรองอย่างหนักหน่วง
ทั้งนี้ พีอาร์แอล เองนั้นก็มีอิทธิพลในแวดวงการศึกษาของจีน แต่ในแวดวงวิชาการระดับโลก พีอาร์เอ็กซ์ นั้นมีอิทธิพลเหนือกว่า พีอาร์แอล อย่างมาก
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ของลู่โจวก็ได้ถูกส่งมาที่กองบรรณาธิการของ พีอาร์เอ็กซ์ เรียบร้อยแล้ว
บรรณาธิการของ พีอาร์เอ็กซ์ ที่ชื่อว่าแฟรงก์ก็ได้เปิดอีเมลและอ่านวิทยานิพนธ์ของลู่โจวในทันใด
“ความปั่นป่วนของพลาสมา” แฟรงก์พลันเลิกคิ้วขึ้นอย่างประหลาดใจ ทันทีที่อ่านบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์จนจบ เขาก็อ่านเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ต่อ
แต่ไม่นานนัก เขาก็เริ่มขมวดคิ้ว
ไม่ใช่ว่าเพราะวิทยานิพนธ์ของลู่โจวนั้นเขียนได้ไม่ดี แต่เป็นเพราะเขาไม่เข้าใจสูตรทางคณิตศาสตร์เลยต่างหาก
แฟรงก์ได้ทำการตรวจสอบชื่อผู้วิจัยและสถาบันวิจัยของวิทยานิพนธ์อีกครั้ง
“ผู้วิจัยเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์จากสถาบันพรินซ์ตัน… ก็ดูจะน่าสนใจดีนะ แต่เขาก็น่าจะส่งไปที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์แทนสิ!”
ส่วนใหญ่แล้ว บรรณาธิการก็มักจะไม่มีความสามารถในการตอบกลับและตรวจสอบวารสารสักเท่าไหร่ เขาอาจมีประสบการณ์การวิจัยเล็กน้อยในสาขาที่ตนเองถนัด แต่ส่วนมาก พวกเขาก็มีแค่ความสามารถด้านวิชาการเพียงขั้นพื้นฐานเท่านั้น
ด้วยเหตุนั้น การไม่เข้าใจเนื้อหาของวิทยานิพนธ์จึงเป็นเรื่องปกติ
ทว่า แลนเซนท์ที่กำลังยืนอยู่ข้างแฟรงก์ก็กำลังจิบชาและมองไปยังชื่อของผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์บนหน้าจอ ทันใดนั้น เขาก็เผยสีหน้าสุดประหลาดใจ
“ลู่โจว?! เขาคือผู้ชนะรางวัลคณิตศาสตร์ระดับโลกนี่!”
แฟรงก์มองไปที่เพื่อนร่วมงานและกล่าวคำพูด “นายติดตามพวกข่าวแวดวงคณิตศาสตร์ด้วยเหรอ?”
แลนเซนท์เผยยิ้ม “ทำไมล่ะ? ทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ต่างก็คล้ายกันนั้นแหละน่า ไม่ใช่แค่นั้นนะ เขายังสามารถแก้สมการนาเวียร์-สโตกส์ขององค์การคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศได้อีกด้วย!”
ทั้งนี้ แฟรงก์เองก็เคยได้ยินชื่อสมการนาเวียร์-สโตกส์มากก่อน ไม่เพียงแค่นั้น แฟรงก์ยังเคยอ่านรายงานของนิวยอร์กไทม์ที่เขียนเรื่องสมการนาเวียร์-สโตกส์มาแล้วด้วย มันเขียนว่าชายผู้ที่ชนะรางวัลเลือกที่จะปฏิเสธเงินรางวัลมูลค่าหนึ่งล้านดอลลาร์! ทว่า ถึงแม้ว่านักวิชาการคนนี้จะมีชื่อเสียง แต่แฟรงก์ก็จำเป็นต้องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ด้วยความระมัดระวังอยู่ดี
แฟรงก์พลันครุ่นคิดอยู่นานก่อนที่เขาจะตัดสินใจส่งวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้กับผู้ตรวจสอบเพื่อทำการพิจารณาเนื้อหาและคุณภาพ
“งั้นนายคิดว่าผู้ตรวจสอบคนไหนเหมาะสมกับงานนี้ล่ะ?”
แลนเซนท์พลันลูบคาง
“ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์พลาสมา… ขอฉันคิดก่อนนะ… เอ่อ… รู้แล้ว! ศาสตราจารย์แคริเบอร์ไง! ตอนนี้เขาน่าจะอยู่ที่เยอรมนี! ฉันจำได้ว่าเขาเป็นหัวหน้าของห้องปฏิบัติการเตาปฏิกรณ์ฟิวชันเซเว่นเอ็กซ์ที่สถาบันมักซ์พลังค์ด้วยล่ะ!”
“คนนี้แหละเหมาะสมที่สุดแล้ว!”
…………………………………………………