ตอนที่ 440 สามสิบนาที (รีไรท์) โดย Ink Stone_Fantasy
ในระหว่างที่ลู่โจวกำลังตัดสินใจอย่างยากลำบาก เครื่องบินลำหนึ่งได้ลงจอดที่อีกฟากหนึ่งของโลกในเมืองลู่หยาง ประเทศจีน
เซิ่งเซียนฟู่พลันกลับมาจากการแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่ห้องปฏิบัติการเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์ของเยอรมนี เขาพลันขึ้นรถบัสเพื่อตรงไปยังสถาบันวิทยาศาสตร์กายภาพทันที
ทันทีที่เหรินหยงเห็นศาสตราจารย์เซิ่งเดินเข้ามาอย่างกระวีกระวาดในสถาบันวิจัย เขาก็พลันเดินไปหาและถามขึ้น “ทำไมถึงดูรีบจังล่ะครับ?”
ศาสตราจารย์เซิ่งพูดเพียงสองคำเท่านั้น
“สามสิบนาที”
เหรินหยงพลันตกใจเล็กน้อย เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่ศาสตราจารย์เซิ่งพูดเลยแม้แต่น้อย แต่ทันใดนั้น เขาก็พลันตระหนักได้ทันที
“สามสิบนาที? พวกเขาทำได้แล้วเหรอครับ?”
ศาสตราจารย์เซิ่งพยักหน้าและกล่าวอย่างจริงจัง
“ตอนแรกพวกเขาเกือบจะล้มเหลวแล้ว ผลลัพธ์ของไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำไม่เป็นไปตามคาด แต่ว่า วิทยานิพนธ์ล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ลงบนพีอาร์ก็ช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมและลดพลังงานความร้อนที่ผนังชั้นแรกได้ มันเหลือเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นจากสามสิบนาที”
แม้ว่าเครื่อง สเตลล่าเลเตอร์ จะเป็นแนวคิดในการวิจัยที่แปลกใหม่ แต่สมาคมวิชาการก็ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าพวกเขาจะสามารถบรรลุความคาดหวังในเชิงทฤษฎีได้จริงหรือไม่
ถึงแม้ว่าเครื่องสเตลล่าเลเตอร์ จะได้รับการออกแบบมาเพื่อยับยั้งพลาสมาได้ดีกว่าเครื่องโทคาแมค แต่มันก็ยังปล่อยความร้อนออกมามากเกินไป ซึ่งนี่ถือเป็นปัญหาสำหรับวิศวกรรมนิวเคลียร์ฟิวชัน
แต่ถ้าเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์สามารถปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าได้นานเป็นเวลาสามสิบนาที มันก็อาจจะเปลี่ยนรูปแบบโครงการนิวเคลียร์ฟิวชันระหว่างประเทศไปได้เลย
ท้ายที่สุดแล้ว ยิ่งมีการทำการวิจัยมากขึ้นเท่าไหร่ ความสำเร็จก็ยิ่งเข้าใกล้มากขึ้นเท่านั้น แต่ทว่า ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากตั้งคำถามว่าแนวคิดการวิจัยนี้จะได้ผลหรือไม่
“คุณเชื่อวิทยานิพนธ์ฉบับเดียว?”
ศาสตราจารย์เหรินพลันมองไปที่ศาสตราจารย์เซิ่งอย่างไม่เชื่อสายตา
ศาสตราจารย์เหรินไม่ได้ดูหมิ่นงานทางทฤษฎี
เขาแค่ประหลาดใจว่าทำไมทฤษฎีนี้ถึงถูกนำไปใช้อย่างรวดเร็วเช่นนี้!
หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ใช้น้ำเสียงจริงจังและพูดขึ้น “วิทยานิพนธ์เรื่องไหนกัน? ให้ฉันดูหน่อยสิ”
“วิทยานิพนธ์ของลู่โจวฉบับล่าสุด วิทยานิพนธ์จากสถาบันมักซ์พลังค์ส่วนใหญ่จะอยู่เว็บไซต์หัวข้อการสัมมนานานาชาติ ถ้านายเห็น เดี๋ยวก็รู้เองแหละ”
ทันทีที่พูดจบ ศาสตราจารย์เซิ่งก็ยังคงพูดต่อพร้อมเดินขึ้นบันไดไปชั้นบน
ในตอนนี้ เขามีเพียงสองสิ่งที่ต้องทำ
หนึ่งคือรายงานผลลัพธ์ของการประชุมให้กับเบื้องบน
สองคือรายงานความสำคัญของเครื่องสเตลล่าเลเตอร์ ให้กับเบื้องบน
เขายอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลู่โจวมาทำงานที่นี่
ถึงแม้ว่าบางคนอาจไม่รู้ถึงความสำคัญของวิทยานิพนธ์ แต่เขารู้…
ท้ายที่สุดแล้ว เหรินหยงก็ได้เดินกลับไปยังห้องทำงาน
หลังจากเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เขาพบวิทยานิพนธ์ที่ศาสตราจารย์เซิ่งเคยแนะนำเอาไว้ในฐานข้อมูล หลังจากดาวน์โหลดแล้ว เขาก็พลันอ่านทีละบรรทัด
แม้ว่าจะไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็มีบางส่วนที่เขาเข้าใจได้
สรุปก็คือ ศาสตราจารย์ลู่โจวได้สร้างแบบจำลองทางทฤษฎีสำหรับปรากฏการณ์ความปั่นป่วนของพลาสมาในเครื่อง สเตลล่าเลเตอร์ ขึ้นมา จากนั้น สถาบันมักซ์พลังค์ก็ได้เขียนอัลกอริทึมการควบคุมแบบใหม่ลงไป โดยใช้แบบจำลองทางทฤษฎีของลู่โจว สิ่งนี้ช่วยลดจำนวนอนุภาคพลาสมาที่ชนกับผนังแรก ซึ่งมันจะช่วยลดอุณหภูมิของผนังแรกได้…
หลังจากอ่านวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว เหรินหยงก็ได้เอนตัวลงบนเก้าอี้ทำงานพร้อมจ้องหน้าจออย่างครุ่นคิด
“เขาโลกสวยไปหรือเปล่านะ?”
อันที่จริง จีนเคยทำการวิจัยเกี่ยวกับ สเตลล่าเลเตอร์ มาก่อนแล้ว
ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ประเทศจีนได้พยายามออกแบบเครื่อง สเตลล่าเลเตอร์ ที่เรียกว่า “หลิงหยุน” ซึ่งพวกเขาได้รับรับอิทธิพลมาจากชาวอเมริกัน
แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลา โครงการจึงถูกยุบไป
แต่ท้ายที่สุดแล้ว แม้แต่ชาวอเมริกันก็ไม่สามารถจัดการกับการวิจัยได้ พวกเขาต้องเปลี่ยน สเตลล่าเลเตอร์ซีเป็นเครื่องโทคาแมคเอสทีและเริ่มทำงานกับอุปกรณ์ทีสามโดยเรียนรู้จากชาวรัสเซีย
หลังจากนั้น เครื่องโทคาแมคก็ได้กลายเป็นตัวเลือกหลักสำหรับสถาบันวิจัยนานาชาติในหลายประเทศ
ทว่า การวิจัยก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้ว่าเครื่องโทคาแมคจะสร้างผลลัพธ์ได้ดีมาโดยตลอด แต่ช่วงเวลาในการปล่อยกระแสไฟฟ้าก็กลับเป็นปัญหา
ทันทีที่ตระหนักถึงปัญหา ประเทศจีนเองจึงเริ่มดำเนินโครงการ สเตลล่าเลเตอร์ เช่น H1-Heliac สเตลล่าเลเตอร์ ซึ่งหลายต่อหลายสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฟิวชันก็ได้ช่วยกันสร้างเครื่อง สเตลล่าเลเตอร์ กึ่งสมมาตรแห่งแรกของจีนขึ้นมา
ถึงอย่างไร แม้ว่าการวิจัยเกี่ยวกับเครื่อง สเตลล่าเลเตอร์ จะถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ แต่การเลือกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ควบคุมได้โดยสถาบันวิจัยในประเทศ เช่น สถาบันวิทยาศาสตร์จีนก็ยังคงมุ่งเน้นไปที่เครื่องโทคาแมคอยู่ดี
ท้ายที่สุดแล้ว การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีขึ้นเพื่อบรรลุสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด และแนวคิดการวิจัยทุกประเภทก็สามารถแผ่ขยายออกไปได้อีก ซึ่งมันถือเป็นสภาพแวดล้อมทางการวิจัยที่ดีไม่น้อย
สำหรับนักวิชาการแล้ว การยึดติดกับแนวคิดการวิจัยของตัวเอง และตั้งใจทำมันอย่างต่อเนื่องนั้นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด
ส่วนใครจะถูก หรือใครจะผิด
ก็คงต้องปล่อยให้ประวัติศาสตร์เป็นตัวตัดสิน
ในตอนนี้ หลิวฉางเล่อที่กำลังนั่งจิบชาอยู่มองไปยังหน้าจอพร้อมกล่าวคำพูด “นี่คือวิทยานิพนธ์อะไรกัน? ฉันไม่เคยเห็นสมการมากมายขนาดนี้มาก่อนเลย”
“ศาสตราจารย์ลู่เป็นคนเขียนน่ะ” เหรินหยงเผยยิ้ม “ไม่เข้าใจก็ไม่แปลกหรอก ฉันยังเข้าใจแค่ตรงส่วนของบทคัดย่อเลย”
“ศาสตราจารย์ลู่?” หลิวฉางเล่อพลันขมวดคิ้วอยู่ครู่หนึ่ง
“ถ้าไม่ใช่ศาสตราจารย์ลู่โจวแห่งสถาบันพรินซ์ตัน แล้วจะให้เป็นใครกันได้อีกล่ะ?” เหรินหยงกล่าว
หลิวฉางเล่อประหลาดใจทันทีที่ได้ยินชื่อนั้น
เขารู้จักลู่โจว… เห็นได้ชัดเลย
แต่ว่า…
“เขาอยู่สาขาคณิตศาสตร์ไม่ใช่หรือยังไง? เขาเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาฟิวชันด้วยงั้นเหรอ?”
เหรินหยงเผยยิ้มทันทีที่ได้ยินเช่นนั้น
“เขาเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคของทีมพีพีพีเอลน่ะ ยังมีข่าวลืออกมาด้วยนะว่าเขาเป็นคนรับผิดชอบโครงการนี้ทั้งหมดเลย เขาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาความปั่นป่วนของพลาสมาด้วย ถ้าไม่รู้จักเขา ฉันก็ไม่รู้จะต้องพูดยังไงแล้ว อันที่จริง เขาจะเก่งหรือไม่เก่ง ก็ให้ผลลัพธ์ของพลาสมาในเครื่องปฏิกรณ์เป็นตัวบอกดีกว่า”
สีหน้าของหลิวฉางเล่อเปลี่ยนไป
“เทคโนโลยีอะตอมโพรบฮีเลียมสาม?”
เขาอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ลู่โจวทำ แต่เขาก็น่าจะเคยได้ยินเรื่องเทคโนโลยีอะตอมโพรบฮีเลียมสามในแวดวงอุตสาหกรรมมาบ้างแล้ว
ทั้งนี้ เครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดเองก็ได้ถูกนำมาทดลอง และเมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาได้ออกแบบเครื่องยิงอะตอมโพรบฮีเลียมสามที่คล้ายกันออกมา ซึ่งมันถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบตัวแปรระดับมหภาคและจุลภาคของพลาสมาที่มีความดันและอุณหภูมิสูงภายในเครื่องปฏิกรณ์
ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยีอะตอมโพรบฮีเลียมสามเองก็ยังสามารถนำไปใช้ในหลายโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลาสมาได้อีกด้วย
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถดาวน์โหลดได้จากฐานข้อมูลของ ITER เพราะมันเป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหมด
แท้จริงแล้ว โครงการที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ฟิวชันทั้งหมดคือความลับ เทคโนโลยีการจุดระเบิดด้วยเลเซอร์เพื่อการทดสอบนิวเคลียร์เองก็คือหนึ่งในนั้น…
“นายไม่ได้สนใจพวกเรื่องวิชาการมานานแค่ไหนแล้วเนี่ย?” เหรินหยงมองไปยังเพื่อนร่วมงานพร้อมกล่าวคำพูด
หลิวฉางเล่อพลันกระแอมและเบี่ยงประเด็น
“ลองนึกภาพดูว่าถ้าสถาบันวิทยาศาสตร์จีนจ้างอัจฉริยะคนนี้เข้ามาทำงานได้ พวกเราทุกคนคงต้องรีบเข้าไปประจบเขาเลยล่ะ”
“ลืมไปได้เลย! เขาเป็นถึงอัจฉริยะเชียวนะ เขาไม่อยากทำงานในสถานที่แบบนี้หรอก แม้ว่าเขาจะอยากมา แต่เขาก็ไม่มาหาพวกเราหรอก” เหรินหยงกล่าว
หลิวฉางเล่อขมวดคิ้ว “งั้นเขาจะไปอยู่ไหนได้ล่ะ?”
ท้ายที่สุดแล้ว นิวเคลียร์ฟิวชันก็เป็นเรื่องของ “วิทยาศาสตร์แห่งอนาคต” อีกทั้ง ยังมีสถาบันเพียงไม่กี่แห่งในจีนเท่านั้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ฟิวชัน แต่หนึ่งในนั้นก็คือสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน…
อีกสถาบันหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือซีหนาน ถึงแม้ว่ามันจะไม่โด่งดังเท่าสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนก็เถอะ
เหรินหยงตอบกลับด้วยรอยยิ้ม “ยังไงก็เถอะ หลังจากที่สถาบันวิจัยสร้างเสร็จ มันก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรแล้ว”
……………………………………………