ตอนที่ 473 สองทิศทาง (รีไรท์)

Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ

ตอนที่ 473 สองทิศทาง (รีไรท์)
โดย
Ink Stone_Fantasy
“ประเด็นนี้?”

เมื่อมองไปยังห้องประชุมที่ว่างเปล่า ลู่โจวก็รู้สึกแปลกไป

ตอนที่เขากล่าวคำปราศรัยอยู่ที่ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ผู้คนนั้นแน่นมากเสียจนแทบจะไม่มีที่ยืน

ทว่าในตอนนี้ หากนับดูแล้วในห้องประชุมมีเพียงยี่สิบคนเท่านั้น

บางคนที่นี่เขาก็พอรู้จักอยู่บ้าง

อย่างเฉียนจ้งหมิง หลิวโปและคนอื่น…

“สถาบันของเรายังมีนักวิจัยไม่มากนัก ผมคิดว่าถ้าจะพูดอะไรก็ควรต้องเป็นความลับมากกว่านี้ ทั้งนักวิจัยแล้วก็ผู้ช่วยวิจัยบางคนก็ยังอยู่ในช่วงฝึกงาน ผมเองก็เลยไม่ได้โทรไป” หยางเสี่ยวที่ยืนอยู่ข้างลู่โจวเริ่มรู้สึกอึดอัดใจ จากนั้นเขาจึงกล่าวเสริม “งั้นต้องการให้ผมแจ้งให้ทราบเลยไหม?”

ลู่โจวเผยยิ้มพร้อมกล่าวคำพูด “ยังไม่ต้อง ผมเองก็จะพูดแค่ไม่กี่คำเท่านั้น”

บนโต๊ะประชุมนั้นมีโปรเจคเตอร์กำลังเปิดอยู่

ลู่โจวเริ่มกระแอมในลำคอพร้อมเปิดม่านที่อยู่ข้างหลัง จากนั้นท่าทีของเขาก็ดูดีขึ้น

“พวกคุณอาจจะได้ยินมาก่อนแล้วว่าโครงการนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมจะถูกตั้งรกรากอยู่ที่เมืองจินหลิง”

ทันทีที่ลู่โจวพูดเช่นนั้น ทั้งห้องประชุมก็เกิดความโกลาหล เหล่านักวิจัยมองหน้ากันพร้อมกับความรู้สึกตกใจ

แม้ว่าจะเคยได้ยินข่าวลือเรื่องนี้มาก่อน แต่การที่ได้ยินจากปากลู่โจวเองนั้นก็ยิ่งทำให้พวกเขาตกใจมากขึ้นไปอีก

หากเป็นคนอื่นบอกว่าพวกเขาต้องมีส่วนร่วมในสิ่งที่เหนือชั้นกว่า อย่างเช่น นิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุม เหล่านักวิจัยส่วนใหญ่ก็คงอาจจะเผยยิ้มหลังจากที่ได้ยิน

แต่กับลู่โจวนั้นต่างออกไป

เขาไม่เพียงแก้ปัญหาของสมการนาเวียร์-สโตกส์เท่านั้น แต่เขายังสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการไหลทะลักของพลาสมาแบบซับซ้อนขึ้นมาอีก

ลู่โจวบอกกับพวกเขาว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ฟิวชันนี้ แม้ว่าจะไม่เคยเห็นเงาของดวงดาวจำลองเลยก็ตาม ซึ่งนักวิจัยที่นั่งอยู่ที่นี่ครึ่งหนึ่งก็เริ่มรู้สึกเชื่อ ส่วนอีกครึ่งก็รู้สึกไม่เชื่อ

ถึงกระนั้นสิ่งที่ทำให้ผู้คนในห้องประชุมงงงวยก็คือทำไมลู่โจวถึงอยากพูดถึงเรื่องนี้ที่นี่?

สถาบันวัสดุคำนวณไม่ใช่ห้องปฏิบัติการสำหรับพลังพลาสมา มันเป็นสถาบันที่ทำการศึกษาปัญหาวัสดุ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษานิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมเลย

คำพูดต่อไปของลู่โจวก็ทำให้ทุกคนตั้งคำถามอีกครั้ง

“อาจจะมีบางคนสงสัยว่าเรื่องที่พูดไปมันเกี่ยวข้องอะไรกับตัวเองด้วย? ไม่ว่ายังไง พวกคุณส่วนใหญ่เชี่ยวชาญในสาขาเคมี อีกทั้งพวกคุณเองก็ได้เลือกวัสดุเป็นทิศทางในการพัฒนา แม้ว่าจะมีความรู้เรื่องแหล่งกำเนิดทางกายภาพและการควบแน่น แต่มันก็มีเรื่องฟิสิกส์พลาสมาแล้วก็นิวเคลียร์มาเกี่ยวข้องด้วย โครงการนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องนั้นหรอกนะ”

“แต่ไม่ว่ายังไง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพลังงานและเทคโนโลยีวัสดุเป็นสิ่งที่จับมาแยกออกจากกันไม่ได้ เราต้องการสนามแม่เหล็กที่ใหญ่กว่าเพื่อจำกัดขอบเขตของพลาสมา เราต้องการผนังชั้นแรกที่ปลอดภัยมากกว่าเดิม เพื่อทนต่อแสงและความร้อนจากปฏิกิริยาฟิวชัน”

ลู่โจวหยุดพูดไปชั่วครู่ทันทีที่มองไปยังเหล่านักวิจัยที่นั่งอยู่ จากนั้นเขาก็กำลังจะพูดถึงประเด็นสำคัญ

“ในอนาคตการวิจัยของเราจะมุ่งเน้นไปยังสองทิศทางหลัก หนึ่งคือวัสดุตัวนำยิ่งยวด อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ เราต้องการวัสดุที่มีความแม่นยำมากกว่านี้ในด้านวิศวกรรม อีกทั้งอุณหภูมิของตัวนำยิ่งยวดก็ต้องใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องมากขึ้นเพื่อให้สนามแม่เหล็กของเราแข็งแรงมากกว่าเดิม”

“สองคือวัสดุทนความร้อน เราต้องการให้ผนังขั้นแรกสามารถทนอุณหภูมิสูงเพื่อปิดกั้นพลาสมาของสนามแม่เหล็กที่หลุดออกมาได้”

“ในปัจจุบันเรามีความก้าวหน้าของวัสดุตัวนำยิ่งยวดอยู่บ้างแล้ว ตัวนำ SG-1 ที่จัดแสดงในการประชุมฤดูใบไม้ร่วงเมื่อครั้งก่อนมีอุณหภูมิมากถึงหนึ่งร้อยเอ็ดเคลวิน ในบรรดาวัสดุตัวนำยิ่งยวดหลายชนิด ตัวเลขนั้นยังอยู่อีกไกล ผมพูดถึงเรื่องนี้มากไม่ได้นัก แต่ความเป็นพลาสติกของวัสดุกราฟีนเองก็ยังมีศักยภาพมากมายที่รอให้เราค้นพบ”

ในการนำเสนอลู่โจวได้แสดงรายการเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมเอาไว้แล้ว

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาปลายเปิดและปัญหาคอขวดที่ต้องเผชิญ

ลู่โจวนั้นมีเพียงคนเดียว เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะทำทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงในคราวเดียว วิธีที่ดีที่สุดคือแยกประเด็นใหญ่ออกเป็นประเด็นย่อย แล้วแบ่งให้แก่เหล่านักวิจัยต่อไป

แต่ทว่าลู่โจวเองก็เลือกประเด็นที่ยากกว่าเพื่อทำการศึกษา

ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันวิจัยของจีนหลายแห่งใช้แบบจำลองที่คล้ายคลึงกัน

ตัวอย่างเช่น นักวิชาการคนหนึ่งได้รับเงินทุนมาจำนวนแปดหลัก จากนั้น เขาก็ได้แยกย่อยโครงการนั้นออกมา และมอบหมายหน้าที่ให้กับคนอื่นที่เกี่ยวข้องและเชี่ยวชาญ ทั้งนักวิชาการและนักวิจัยต่างก็จะทำเช่นนี้

แน่นอน นี่เป็นเพียงแค่การจำลอง แต่มันก็ถือเป็นการอุปมาอุปไมยที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก นอกจากนั้น ในโลกแห่งวิชาการ หากเทียบกับนักวิจัยคนอื่นแล้ว ทุกคนที่เป็นถึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงก็จะต้องสามารถแบ่งหน้าที่ออกมาเป็นแต่ละส่วนให้ออกมาดี

แต่ทว่า นี่ก็เป็นเหมือนเรื่องที่น่าเบื่อแห่งโลกวิชาการ

เมื่อมองย้อนกลับไปที่ห้องประชุม ลู่โจวก็พูดต่อ

“ตอนนี้เรากำลังมีส่วนร่วมในประเด็นที่ยิ่งใหญ่”

“ถ้าเราทำสำเร็จ ทั้งประเทศ ผู้คนและแม้แต่อารยธรรมของเราก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย มูลค่าของมันนั้นไม่สามารถเปรียบเทียบกับจำนวนเงินได้”

“ผมรู้ดีว่านี่ไม่ใช่โครงการที่จะสามารถทำสำเร็จได้ในชั่วข้ามคืน และทุกขั้นตอนก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก”

“แต่ผมเองก็มั่นใจมากว่าจะสามารถร่วมงานกับทุกคนเพื่อเอาชนะความยากลำบากนี้ได้!”

“ผมหวังว่าเราทุกคนจะช่วยกัน!”

หลังจบการประชุม

หลิวโปก็ยังคงพึมพำกับตัวเอง “นิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุม? มันจะเป็นไปได้ไหมนะ?”

“อะไรน่าเชื่อมากกว่ากันล่ะ?” เฉียนจ้งหมิงกล่าว

“สถาบันวิจัยของเราเต็มไปด้วยผู้คนหลายร้อยคน อีกทั้ง ยังเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีอีกด้วย นักวิจัยบางคนก็อายุยังน้อย แล้วนายเห็นสิ่งที่อยู่ในจอภาพนำเสนอไหมล่ะ? กำลังคนที่มีความสามารถนั่นแหละคือสิ่งที่ฉันกำลังกังวล” หลิวโปกล่าว

เฉียนจ้งหมิงเองไม่ได้ตอบคำถามนี้ “นอกเหนือจากหัวหน้าของแล้ว มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลในสถาบันการศึกษาของจีนกี่คนกัน?”

หลิวโปตกใจเล็กน้อย เขาไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเฉียนจ้งหมิงถึงพูดเช่นนั้น

“นักวิชาการหยางกับนักวิชาการโม่เหยียนมั้ง?”

“ฉันกำลังพูดถึงในที่ประชุม”

“งั้นก็อย่างที่บอกนั้นแหละ สองคน”

“แล้วมีกี่คนที่ยังคงอยู่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์กัน?”

นักวิชาการหยางก็มีอายุเก้าสิบห้าปีแล้ว เขาได้ปลูกฝังความสามารถทางฟิสิกส์ที่ยอดเยี่ยมมากมายให้กับสาธารณรัฐ พวกเขาเองก็ได้เสนอความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์มากมายสำหรับการพัฒนาฟิสิกส์ของจีนอีกด้วย ทว่า พวกเขาได้ย้ายออกจากวงการแนวหน้าของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไปแล้ว…

เช่นเดียวกับนักวิชาการโม่เหยียนที่มีอายุกว่าแปดสิบเจ็ดปี เธออยู่ในวัยที่ต้องถูกดูแลแล้ว ไม่ว่าเธอจะเป็นผู้สูงอายุหรือยังอยู่ในตำแหน่งการวิจัยหรือไม่ก็ตาม แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะคาดหวังให้ผู้สูงอายุมาทำการวิจัยอะไรแบบนี้

หลังจากคิดอยู่สักพัก หลิวโปก็พูดขึ้น “งั้นก็คงเหลือแค่เทพลู่คนเดียวแล้วแหละ”

“คิดเหมือนกัน” เฉียนจ้งหมิงพยักหน้า “แล้วนายคิดว่าการขาดคนจะเป็นปัญหาไหม?”

หากสถาบันวิจัยของผู้ได้รับรางวัลโนเบลต้องการจ้างคน… นักวิจัยในทั้งและต่างประเทศก็จะต้องมุ่งหน้ามาที่นี่เป็นแน่

……………………………………………