ตอนที่ 571 ฉันได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจริงหรือ

Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน

หลังจากที่​เห็น​ว่า​นี่​เป็น​เพียง​ส่วน​ยอด​ของ​ภูเขาน้ำแข็ง​เท่านั้น​ที่​ผู้อ่าน​หลาย​คน​จึงตระหนัก​ได้​ทันที​…

ตน​เหมือนว่า​อ่าน​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ไม่เข้าใจ​?

สิ่งที่​ขาใหญ่​เห็น​ คือ​ความหมายแฝง​ของ​ใน​นิยาย​ คือ​อุปมา​ใน​เนื้อเรื่อง​ คือ​ชั้นเชิง​ของ​โครงเรื่อง​

ปรากฏ​ว่า​ผู้อ่าน​ทั่วไป​อ่าน​ไป​พลาง​ร้อง​ว่า​

‘ซุน​หงอ​คง​สุดยอด​!’

‘พญา​วานร​สุดยอด​มาก​!’

คลาดเคลื่อน​ไป​จาก​ประเด็นสำคัญ​!

เนื้อเรื่อง​ของ​นิยาย​เรื่อง​นี้​ยอดเยี่ยม​

ทว่า​ความ​ยอดเยี่ยม​ที่​แท้จริง​ของ​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​คือ​สิ่งเหล่านั้น​ซึ่งควรค่า​แก่​การขบคิด​ หรือ​แม้แต่​พินิจ​พิจารณา​

อุปมา​และ​ความนัย​ล้วน​มีอยู่​ทุกที่​!

สิ่งที่​น่าสะพรึงกลัว​ที่​แท้จริง​ คือ​ความจริง​อัน​น่า​ตกใจ​ซึ่งนิยาย​ไม่ได้​เขียน​ออกมา​ชัดเจน​ แต่กลับ​ถูก​เปิดเผย​ระหว่าง​บรรทัด​!

มิน่าล่ะ​อดีต​ประธาน​สมาคม​วรรณศิลป์​ถึงได้​ออกตัว​สนับสนุน​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ถึงได้​!

ผ่าน​ไป​ไม่นาน​

การ​ตีความ​นี้​แพร่สะพัด​ไป​ใน​หมู่​ผู้อ่าน​ สักพัก​หนึ่ง​ ผู้อ่าน​ซึ่งชื่นชอบ​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ก็​มั่นใจ​ขึ้น​มา

‘ขาใหญ่​สุดยอด​ไป​เลย​!’

‘ที่แท้​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ก็​อ่า​นก​ลับหลัง​ได้​ด้วย​!’

‘ผม​คิด​ว่า​นี่​คือ​เรื่องราว​ที่​เหมาะสม​กับ​ทุก​คนใน​ครอบครัว​ นึกไม่ถึง​ว่าการ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ที่​แท้จริง​จะมืดมน​ขนาด​นี้​’

‘คิด​แค่​ว่า​อาจารย์​และ​ลูกศิษย์​ทั้ง​สี่คน​เดินทาง​ไป​ยัง​ตะวันตก​เพื่อ​กำจัด​ความ​ชั่วร้าย​ ผดุง​ความดีงาม​แต่​ปีศาจ​ที่​มีเบื้องหลัง​ไม่ตาย​แม้แต่​ตน​เดียว​ นี่​มัน​นิยาย​เทพ​ปกรณัม​ที่ไหน​กัน​ นี่​มัน​สมจริง​ซะยิ่งกว่า​สมจริง​!’

‘ตอนนี้​ฉัน​รู้สึก​สงสาร​ซุน​หงอ​คง​เลย​’

‘กลายเป็น​โต้​ว​จ้าน​เซิ่งฝัว​ตะวันตก​ ฟังดูดี​อยู่​หรอก​ แต่​ที่จริง​แล้ว​เห็นชัด​ๆ ว่า​นี่​เป็น​เรื่องราว​ของ​การ​ต่อต้าน​ที่​ล้มเหลว​ ถูก​พระ​ตถาคต​ปราบปราม​ และ​เรียกตัว​ไป​รับ​ตำแหน่ง​’

‘ซุน​หงอ​คง​ สุดท้าย​แล้ว​สูญเสีย​สัญชาติ​ญาณดิบ​’

‘คิด​ตาม​แล้วก็​อด​เศร้า​ไม่ได้​ รู้สึก​ราวกับว่า​ตัวเอง​กำลัง​มีชีวิต​อยู่​ใน​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ มีความกดดัน​ของ​หงอ​คง​ มีร่างกาย​คล้าย​โป๊ยก่าย​ หัวล้าน​เหมือน​ซัวเจ๋ง​ ขี้บ่น​ขี้​งอแง​เหมือน​ภิกษุ​ถัง’

‘ทำไม​ยิ่ง​อ่าน​ยิ่ง​รู้สึก​ว่า​โดน​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​หลอก​?’

‘…’

บทวิจารณ์​หนังสือ​กระหน่ำ​เข้ามา​ราวกับ​ดอกเห็ด​ซึ่งผุด​ขึ้น​หลัง​ฝนตก​

เพียงแค่​เปิด​เว็บบอร์ด​ยอดนิยม​สัก​แห่ง​ ย่อม​เห็น​ความคิดเห็น​มากมาย​หลาย​สิบ​หน้า​ให้​ตาม​อ่าน​ได้​ไม่รู้​จบ​

นอกจากนั้น​

การ​ตีความ​นี้​ยัง​ทำหน้าที่​เป็น​จุดเริ่มต้น​ กระตุ้น​ให้​ผู้คน​ขบคิด​อย่าง​ลึกซึ้ง​เกี่ยวกับ​โครงเรื่อง​มากขึ้น​

การ​ตีความ​ซึ่งยิ่ง​อ่าน​ยิ่ง​ลึกซึ้ง​!

หลากหลาย​มุมมอง​ที่​แตกต่าง​เพิ่มขึ้น​เรื่อยๆ​ !

ชาว​เน็ต​อ่าน​จน​ตกตะลึง​!

ถึงขั้น​ที่​มีคน​กล่าวว่า​ สิ่งที่​เรียก​ว่าการ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ นั้น​เป็นการ​บำเพ็ญตน​ของ​ภิกษุ​ถังเพียง​คนเดียว​!

ซุน​หงอ​คง​ ตือ​โป๊ยก่าย​ และ​ซัวเจ๋ง​ล้วน​ไม่มีตัวตน​อยู่​จริง​!

เพราะฉะนั้น​

ทันทีที่​คำวิจารณ์​นี้​ปรากฏ​ขึ้น​ ก็​ดึงดูด​ความสนใจ​จาก​ผู้อ่าน​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ได้​นับไม่ถ้วน​!

ไม่เพียง​เพราะ​การ​ตีความ​นี้​น่าตื่นเต้น​เพียงพอ​ แต่​ยัง​เป็น​เพราะ​ผู้เขียน​บทวิจารณ์​หนังสือ​เล่ม​นี้​เป็น​ผู้เชี่ยวชาญ​ด้าน​การ​วิจารณ์​หนังสือ​ซึ่งมีชื่อเสียง​บน​อินเทอร์เน็ต​ และ​แม้แต่​เป็น​นักวิชาการ​ใน​แวดวง​วัฒนธรรม​

หัวข้อ​ความคิดเห็น​ของ​เขา​คือ​ ‘บางที​ใน​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ อาจ​มีภิกษุ​ถังเพียง​คนเดียว​ตั้ง​แต่ต้นจนจบ​’

ถ้าไม่อ่าน​เนื้อหา​ ปฏิกิริยา​แรก​ของ​ใคร​หลาย​คน​เมื่อ​เห็น​มุมมอง​นี้​คือ​…

ไร้สาระ​!

คำพูด​ซึ่งทำให้​ตื่นตกใจ​!

น่า​ตกใจ​ยิ่งกว่า​ซุน​หงอ​คง​ถูก​แทนที่​ด้วย​วานร​หก​หู​เสีย​อีก​!

รู้สึก​ว่าการ​ตีความ​มากมาย​ ล้วน​ทำ​ไป​เพื่อ​เรียกร้อง​ความสนใจ​จาก​สาธารณะ​!

ถึงขั้น​ที่​มีคน​บริภาษ​ออกมา​ทันที​

ที่​เขียน​บทวิจารณ์​เหล่านี้​ ชอบ​โพล่ง​ออกมา​โดย​ไม่ทัน​ตั้งตัว​

แต่​เมื่อ​ทุกคน​คลิก​เข้าไป​คำวิจารณ์​หนังสือ​ กลับ​ต้อง​อ้าปากค้าง​

‘ความจริง​แล้ว​ การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​เป็น​เพียง​การ​ฝึก​ตน​ของ​ภิกษุ​ถังเพียง​คนเดียว​ ลูกศิษย์​สามคน​ล้วน​เป็นตัว​เขา​เอง​’

‘ฉัน​รู้​ว่า​เมื่อ​คำพูด​นี้​ออกมา​ ทุกคน​คง​รู้สึก​สับสน​ อย่า​เพิ่ง​รีบ​สาปส่ง​ฉัน​ มาฟังฉัน​ถกเถียง​กับ​ทุกคน​เกี่ยวกับ​นิยาย​เรื่อง​นี้​กัน​ก่อน​ดีกว่า​’

‘ซุน​หงอ​คง​ ตือ​โป๊​ย​กาย​ ซัวเจ๋ง​ หรือ​แม้แต่​ม้ามังกร​ขาว​ อันที่จริง​ล้วน​เป็นตัวแทน​ของ​ปีศาจ​ภายใน​จิตใจ​ของ​ภิกษุ​ถัง กระบวนการ​ที่​เขา​ฝึกฝน​ลูกศิษย์​ก็​คือ​กระบวนการ​ที่​เขา​ระงับ​กิเลส​ของ​ตน​!’

‘ไม่เช่นนั้น​ ระยะ​ทางใน​การ​เดินทาง​ไป​อัญเชิญ​พระไตรปิฎก​คือ​หนึ่ง​แสน​แปด​หมื่น​ลี้​ และ​ซุน​ห​ งอ​คง​ตีลังกา​ได้​หนึ่ง​แสน​แปด​หมื่น​ลี้​เท่ากัน​พอดี​? ไม่บังเอิญ​เกินไป​หรือ​? ทำไม​ไม่ให้​ซุน​หงอ​คง​พา​เขา​ตีลังกา​ไป​เลย​ แต่กลับ​เดินทาง​ยาว​ไกล​ ผ่าน​ความทุกข์ยาก​ทั้งหลาย​? เพราะ​สิ่งเหล่านี้​ไม่มีตัวตน​อยู่​จริง​ไงล่ะ​! มัน​เป็น​เพียง​กิเลส​ที่​ใหญ่​ที่สุด​ของ​ภิกษุ​ถัง คือ​ทางลัด​สู่สวรรค์​ใน​ก้าว​เดียว​ นอกจากนั้น​ ซุน​หงอ​คง​ยัง​เป็นตัวแทน​ถึงความ​หุนหันพลันแล่น​และ​ความดุร้าย​ ลิง​ตัว​นี้​ตรงไปตรงมา​ ไม่มั่นคง​ และ​ไม่ถ่อมตน​ ช่วงต้น​และ​ช่วง​กลาง​กล่าว​ได้​ว่า​กล้าหาญ​ชาญชัย​!’

‘ลูกศิษย์​ซึ่งหมกมุ่น​ใน​ตัณหา​อย่าง​ตือ​โป๊ยก่าย​ เป็นตัวแทน​ของ​กามารมณ์​​ เชื่อ​ว่า​ทุกคน​มีภาพ​จำอย่าง​ลึกซึ้ง​เกี่ยวกับ​เนื้อเรื่อง​ช่วง​แคว้น​อิตถี​ อันที่จริง​ใน​แคว้น​อิตถี​ไม่ได้​มีอันตราย​มากมาย​นัก​ แต่​ทำไม​ฉู่ขวง​ถึงเน้นย้ำ​อย่าง​ละเอียด​นัก​? นั่น​เพียง​เพราะว่า​ ภิกษุ​ถังเป็น​มนุษย์​ เป็น​คน​ย่อม​มีเจ็ด​อารมณ์​หก​ปรารถนา​ และ​จิตใจ​ซึ่งมีต่อ​พระพุทธองค์​ไม่ควร​ถูก​กระตุ้น​ด้วย​จิตใจ​เยี่ยง​ปุถุชน​ เพราะฉะนั้น​เนื้อเรื่อง​ใน​ช่วงนี้​จึงสำคัญ​มาก​ ภิกษุ​ถังมองออก​ถึงความ​อารมณ์​และ​ความสัมพันธ์​ของ​ตนเอง​ใน​จุด​นี้​!’

‘ส่วน​ซัวเจ๋ง​…’

‘เพราะฉะนั้น​ความลำบาก​ระหว่าง​การ​เดินทาง​ล้วน​เป็น​ความทุกข์ทรมาน​ใน​จิตใจ​ของ​ภิกษุ​ถัง ความสงบ​แห่ง​จิต​คือ​การตื่น​รู้​ใน​นิพพาน​ ความ​มีสติ​ก่อ​เกิดผล​ ละเว้น​กาม​ละเว้น​กิเลส​คือ​ศีลแปด​ ละเว้น​การ​ฆ่าละเว้น​ความโกรธ​คือ​ความสงบ​ ร่างกาย​และ​จิตใจ​สะอาด​น้อม​สู่พระพุทธองค์​ เค​หาสน์​แห่ง​จิต​คือ​ชมพูทวีป​!’

‘สิ่งที่​เรียก​ว่าการ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​​ก​ ก็​คือ​การ​บำเพ็ญตน​ของ​ภิกษุ​ถัง!’

ฟังดูเหมือน​…

มีเหตุผล​อยู่​นะ​?

ทั้ง​อาจารย์​และ​ลูกศิษย์​ ล้วน​เป็นความ​หมกมุ่น​และ​ปีศาจ​ใน​ใจของ​ภิกษุ​ถัง

ใน​พื้นที่​แสดงความคิดเห็น​

บางคน​เข้าใจ​และ​ตอบกลับ​ในทันที​

‘ดูเหมือน​จะคล้าย​กับ​ทฤษฎี​ปัญจ​ธาตุ​อยู่​นะ​ ซุน​หงอ​คง​คือ​ใจวานร​[1]ของ​ภิกษุ​ถัง หัวใจ​ลิง​จัด​อยู่​ใน​ธาตุ​ไฟ รัก​การเคลื่อนไหว​ได้​ชื่อว่า​เห้งเจีย​[2] ต้อง​ตื่น​รู้​ใน​ความว่าง​เปลา​ โป๊ยก่าย​คือ​น้ำ​ใน​ไต​ของ​ภิกษุ​ถัง จัด​เป็น​ธาตุ​นี้​ ควบคุม​เจ็ด​อารมณ์​หก​ปรารถนา​ จึงเรียก​ว่า​ศีลแปด​ ต้อง​ตื่น​รู้​ใน​สิ่งที่​ควร​ทำ​และ​ไม่ควร​ทำ​ เพราะฉะนั้น​จึงมีฉายา​ว่า​หงอ​เห​นง​ น้ำ​และ​ไฟไม่อาจ​เข้ากัน​ จำเป็นต้อง​มีดิน​คอย​ไกล่เกลี่ย​ เพราะฉะนั้น​จึงมีซัวเจ๋ง​ซึ่งแลดู​ไม่มีตัวตน​ เพราะ​ดิน​คอย​ประนีประนอม​ ขัดแย้ง​ได้​แต่​ไม่ต่อสู้​ จำเป็นต้อง​ตื่น​รู้​ใน​ความสงบ​ ภิกษุ​ถังคือ​จิตวิญญาณ​ดั้งเดิม​ ทาง​เต๋า​จึงเรียก​ว่า​ซำจั๋ง ซึ่งก็​คือ​ดินแดน​แห่ง​เสวียน​จั้ง การเคลื่อนไหว​ของ​จิตวิญญาณ​ดังเดิม​จำเป็นต้อง​ควบคุม​จิต​อาชา​ให้​สงบ​ เพราะฉะนั้น​ภิกษุ​ถังจึงขี่ม้า​มังกร​ขาว​ไป​อัญเชิญ​พระไตรปิฎก​!’

‘ใช่ๆๆ แค่​อ่าน​ชื่อ​นิยาย​ก็​รู้​แล้ว​ว่า​แปลก​ๆ ’

‘ชื่อ​บท​ของ​นิยาย​ทั้ง​เล่ม​เชื่อมโยง​เข้าด้วยกัน​ ให้​ความรู้สึก​ราวกับ​เป็น​วิธี​บำเพ็ญ​เพียร​ฉบับ​สมบูรณ์​​!’

‘…’

เอา​แล้ว​!

ยังมี​ความคิดเห็น​เพิ่ม​มาอีก​!

ทฤษฎี​ปัญจ​ธาตุ​มาแล้ว​!

บำเพ็ญ​เพียร​ใดๆ​ ต่าง​มากอง​รวมกัน​แล้ว​!

ประเด็นสำคัญ​คือ​ คน​เหล่านี้​รวบรวม​เรื่องราว​เหล่านี้​เข้าด้วยกัน​ ทำให้​คน​รู้สึก​ถึงความสมเหตุสมผล​!

ใน​ช่วง​เวลานี้​

ผู้อ่าน​ไม่เพียง​งุนงง​

หลาย​คน​เริ่ม​สับสน​แล้ว​…

ความคิด​ของ​พวกเขา​เริ่ม​จาก​ ‘พวกเรา​อ่านหนังสือ​เรื่อง​เดียวกัน​หรือเปล่า​’ กลายเป็น​ ‘ฉัน​ได้​อ่านหนังสือ​เล่ม​นี้​แล้ว​จริง​หรือ​’

การ​ตีความ​เหล่านี้​เหนือ​ชั้น​เกินไป​!

เช่นนั้น​การ​ตีความ​ไหน​ถูกต้อง​ล่ะ​

การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ใน​ความจริง​แล้ว​…

เป็น​อย่างไร​กัน​แน่​?

บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ที่​ฉู่ขวง​เขียน​ มีความหมาย​ซ่อน​อยู่​มาก​แค่​ไหน​กัน​

เรื่อง​เหล่านี้​หาก​ฉู่ขวง​ไม่ได้​แถลง​ไข​ให้​ชัดเจน​ คนนอก​ไม่มีทาง​กระจ่าง​

แต่​ไม่ต้องสงสัย​เลย​

ไม่ว่าการ​ตีความ​จะเป็น​อย่างไร​ ข้อสันนิษฐาน​รูปแบบ​ไหน​ ล้วน​บ่งบอก​อย่าง​ชัดเจน​ได้​เพียง​ว่า​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ไม่ธร​ร​ดา​

ในเวลานั้น​ ถึงขั้น​มีคน​อดไม่ไหว​ กลับ​ไป​อ่าน​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​อี​กรอบ​

รอบ​แรก​ กลืน​ทุกสิ่ง​ลง​ใน​คำ​เดียว​ รีบร้อน​เกินไป​

รอบ​ที่สอง​ หลาย​คนอ่าน​ซ้ำ พร้อมกับ​ทัศนคติ​ซึ่งมุ่งมั่น​ศึกษา​อย่าง​จริงจัง​ การ​ตี​ความหลากหลาย​รูปแบบ​ส่งผล​ให้​เรื่องราว​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​ควรค่า​แก่​การศึกษา​

คน​เหล่านี้​คือ​ผู้อ่าน​ซึ่งสนใจ​ศึกษา​ค้นคว้า​อย่าง​ลึกซึ้ง​

เมื่อ​เทียบ​กัน​แล้ว​

ผู้อ่าน​ซึ่งไม่ได้​สนใจ​อย่าง​ลึกซึ้ง​มาก​นัก​ และ​ชอบ​อ่าน​บทสรุป​ใน​การ​ถกเถียง​ระหว่าง​เหล่า​ขาใหญ่​ ได้​เบน​ความสนใจ​ไป​ยัง​บรรดา​แฟนคลับ​บรรพกาล​ซึ่งก่อนหน้านี้​โจมตี​บันทึก​การ​เดินทาง​สู่ประจิม​ทิศ​สารพัด​รูปแบบ​มาโดยตลอด​…

[1] ใจวานร​ เปรียบเปรย​ถึง ความ​ซุกซน​และ​อยู่ไม่สุข​

[2] เห้งเจีย​ ถอดความ​ตาม​ตัวอักษร​จะหมายถึง​ ผู้​ที่​เดิน​ หรือ​ผู้​ที่​เคลื่อนที่​ และ​หาก​แปลความหมาย​ทาง​พุทธศาสนา​หมาย​ถือ​ผู้​ถือ​พรต​ซึ่งไม่โกน​ศีรษะ​