บทที่ 595 เสียหายกันเป็นทอด

เก้าพี่น้องเลี้ยงซาลาเปาสุดแสบ

บทที่ 595 เสียหายกันเป็นทอด

บทที่ 595 เสียหายกันเป็นทอด

เราคุ้นเคยกับพื้นที่ในอำเภออยู่แล้ว ในไม่ช้าก็เดินทางมาถึงโรงงานอาหาร ทว่าที่นั่นกลับว่างเปล่า เทียบกับเมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่มันไม่มีอะไรเลย

สองพี่น้องมองหน้ากัน

โรงงานอาหารย่ำแย่มาจนถึงขนาดนี้ตั้งแต่เมื่อไร?

เราเดินไปยังโซนรับแขก ก่อนจะเจอกับลุงวัยห้าสิบเศษกำลังนั่งดื่มชาอยู่บนเก้าอี้

เขาดื่มอึก ๆ ดวงตาเหล่เข้าหากันขณะกระดก ดูสบายใจเฉิบมาก

เสี่ยวเถียนหยิบเมล็ดแตงโมถุงเล็กออกมาจากกระเป๋า แล้ววางไว้ให้ตรงหน้าแก

“คุณลุง รบกวนโทรหาคนชื่อฉีเหลียงอิงให้เราได้ไหมคะ?”

“ฉีเหลียงอิง?” ชายชราครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง “คนคนนี้ไม่ได้ทำงานที่โรงงานอาหารเราแล้วนะ กลับไปไปเมื่อสองสามวันก่อนนู่นแล้วล่ะ!”

สองพี่น้องตกใจมาก ทำไมถึงไม่ได้ทำงานแล้วล่ะ?

“คุณลุงรู้ไหมคะว่าเกิดอะไรขึ้น?” เสี่ยวเถียน

“ยัยหนู เป็นอะไรกับฉีเหลียงอิงหรือ?” ลุง

“หนูเป็นหลานสาวของเธอค่ะ แต่ลุงบอกหนูก่อนว่าทำไมโรงงานถึงสภาพเหมือน…”

เธอไม่รู้จะพูดยังไงดี เพราะเราก็คงว่ากันโต้ง ๆ ว่าล้มลายไม่ได้ใช่ไหมล่ะ

เหมือนตบหน้าเลย

“เหมือนกำลังจะล้มละลายใช่ไหม?” ลุงเอ่ยด้วยตัวเอง

“เกิดอะไรขึ้นคะ?” เสี่ยวเถียนสงสัย

“จะไปเกิดอะไรขึ้นเล่า ก็เลือกที่รักมักที่ชังนั่นล่ะ มีแต่คนไร้ความสามารถ ขายของไม่ได้มาสามเดือนแล้ว การผลิตก็ชะงักหยุดลง” ลุงเอ่ยด้วยความสะเทือนใจ “ตาแก่อย่างชั้นมีเวลาอีกตั้งปีก่อนเกษียณ ทีแรกยังคิดว่าคงจะราบรื่นดี แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่แล้วล่ะ!”

แต่เรายังตกใจอยู่ดีที่แกกลับพูดด้วยความสบายใจขนาดนี้

นี่คือสิ่งที่คนกำลังจะว่างงานควรมีสินะ

“ลุงคะ แล้วทำไมฉีเหลียงอิงต้องไปด้วยล่ะคะ?”

ถึงโรงงานจะไม่สามารถดำเนินงานได้ แต่คนงานก็ไม่จำเป็นต้องกลับบ้านนี่นา

เพราะยังไงเราก็ยังอยู่ในระบบกินข้าวหม้อใหญ่*[1]อยู่ดี

“ลุงไม่รู้หรอกว่าใครเสนอความคิดนี้กับทางผู้นำบอกให้ไล่บางคนบางส่วนออกไป ซึ่งฉีเหลียงอิงก็คือหนึ่งในนั้น ก่อนจะออกทุกคนจะได้รับเงิน 300 หยวนด้วยนะ อันที่จริงมันก็ดี แต่ตอนนี้เนี่ยสิ ไม่รู้จะได้เงินเดือนกันอยู่หรือเปล่า” ชายชราอารมณ์เสีย

“มีคนออกไปเยอะไหมคะ?”

เสี่ยวเถียนกำลังคิดว่ามันคือการเลิกจ้างครั้งใหญ่หรือเปล่า?

“ตอนนี้ในกลุ่มเหลือกัน 30 กว่าคน ส่วนใหญ่ก็โดนให้ออกหมดแล้วล่ะ”

น้ำเสียงเขาตอนเอ่ยเรียบเฉย เสี่ยวเถียนรู้สึกเสียใจเหลือเกิน

ตอนนั้นเองที่นึกเรื่องสำคัญขึ้นได้ ถ้าโรงงานผิดตัวลงแล้ว ฟาร์มไก่ของเราก็กำลังจะเสียลูกค้ารายใหญ่ไปไม่ใช่หรือไง?

เธออยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว หลังจากเอ่ยขอบคุณก็จับแขนพี่ใหญ่ลากออกมาทันที

“พี่ใหญ่ เรารีบกลับบ้านกัน”

โส่วเวินไม่รู้ว่าน้องคิดอะไรอยู่ แต่เห้นสีหน้าแบบนั้นก็รู้ได้ว่าสิ่งที่คิดไม่ใช่เรื่องดีแน่ ๆ

“เสี่ยวเถียนคิดอะไรอยู่หรือ?”

“พี่ใหญ่ โรงงานไม่ได้ดำเนินการมาสามเดือนแล้วนะ แถมลูกค้ารายใหญ่สุดของโรงงานก็คือฟาร์มไก่ของกองชุมชนเราไม่ใช่หรือคะ!”

ถ้าขายไข่ไม่ได้ ทุกคนในกองชุมชนจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตระกูลซูของพวกเขา เราเป็นคนเสนอเรื่องนี้เอง และเป็นผู้ริเริ่มด้วย

ถ้าเกิดเรื่องขึ้นมา เขาจะตำหนิเราได้

สีหน้าของโส่วเวินแปรเปลี่ยนเป็นจริงจังยามนึกถึงพ่อแม่ จากนั้นทั้งสองก็รีบตรงกลับบ้านทันที

สมรรถนะร่างกายเราแข็งแรงดี ระหว่างเดินทาง ท้องฟ้าก็มืดไวกว่าที่คิดไว้เล็กน้อย

ผู้ใหญ่ในบ้านตกใจตอนเห็นลูกหลานทั้งสองปรากฏตัว

“ทำไมจู่ ๆ ก็กลับมากันเล่า เมื่อวานพ่อโทรไป ปู่บอกจะไปหรงเฉิงกันนี่!” เหล่าต้าตกใจมาก

“เราไปมากันแล้วครับ แล้วก็เอาของมาขายฝั่งทางนี้ พอขายที่จินหลานเสร็จก็นั่งรถไฟมากันเลย”

โส่วเวินอธิบายสั้น ๆ

ฉีเหลียงอิงมองไปทางข้างหลัง แต่ไม่เห็นลูกชายตัวเองเลย จึงถามด้วยความผิดหวัง “ซื่อเลี่ยงได้กลับมาด้วยไหม?”

“ซื่อเลี่ยงไปหรงเฉิงครับ น่าจะกลับมาในอีกสองสามวันข้างหน้า แต่เขาจะกลับมาหาพ่อรองแม่รองแน่นอนครับ” โส่วเวินยิ้ม “แม่รองครับ เราไปหาที่โรงงานอาหารกันวันนี้ด้วย”

ความลำบากใจปรากฏขึ้นบนใบหน้าของหญิงวัยกลางคน เธอไม่รู้จะตอบเด็ก ๆ ยังไงดี

เธอเคยเป็นคนงานของที่นี่ แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำงานแล้ว สองวันมานี้มีคนโดนชี้นิ้วให้ออกกันทั้งนั้นเลย

“แม่รอง มันเกิดอะไรขึ้นคะ? ก่อนหน้านี้ยังดี ๆ อยู่เลยนี่?”

เสี่ยวเถียนสับสนมาก เรากำลังจะเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนะ แต่มันไม่น่าจะล้มละลายได้ไวขนาดนี้หรือเปล่า

เพราะขนมไข่เป็นอาหารที่ยังถือครองส่วนแบ่งของตลาดเยอะอยู่นะ

ฉีเหลียงอิงเงียบไปครู่หนึ่ง “เพราะขนมไข่ที่เคยทำอย่างประณีตถูกแอบลดคุณภาพน่ะ น้ำมันน้อยลง ไข่น้อยลง คุณภาพแป้งก็ไม่ดี ขนาดน้ำตาลทรายป่นยังเปลี่ยนเป็นขัณฑสกรเลย ใครที่ไหนจะไปอยากกินขนมไข่แบบนี้ล่ะ อีกอย่างนะ ก่อนหน้านี้เรายังรักษามันไว้ได้เพราะไม่มีคู่แข่ง แต่หลังปีใหม่มาก็มีคนเปิดโรงงานขนมไข่ขึ้น ตอนนี้ธุรกิจเขาดีมาก ใคร ๆ ก็ไปทำงานที่นั่น ซื้อกินที่นั่นทั้งนั้น”

เสี่ยวเถียนไม่คิดว่าปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารจะเกิดขึ้น ผู้อำนวยการโรงงานคนใหม่ต้องใจกล้าขนาดไหนเนี่ย?

เราเพิ่งจะปฏิรูปเศรษฐกิจจีนเอง หลายคนยังคอยด้อม ๆ มอง ๆ อยู่เลย แต่เขากลับกล้าทำแบบนี้เนี่ยนะ?

“ที่นั่นไม่มีคนค้านหรือคะ แม่รอง?!” โรงงานใหญ่แบบนี้ ถ้ามีคนค้าน พวกผู้จัดการโรงงานก็ต้องคิดกันบ้าง

“ทำไมจะไม่ค้านล่ะ? เราโต้แย้งกันไปมาไม่น้อย รองผู้อำนวยการคนนึงโดนสอบสวน คนนึงขาหักกลับบ้านไปพักผ่อนนู่น ส่วนพวกผู้จัดการคนก็เอาคนอื่นมาแทนที่ ให้วุ่นวายกันไปหมด”

ฉีเหลียงอิงรักโรงงานแห่งนี้มาก และไม่เคยคิดว่ามันจะตกต่ำถึงขนาดนี้

เสี่ยวเถียนไม่อยากเชื่อไปมากกว่านี้อีกแล้ว ต่อให้เรื่องที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องบังเอิญ เธอก็ไม่มีวันเชื่ออยู่ดี

แต่ในโลกใบนี้ ถ้ามันเป็นเรื่องบังเอิญก็ใช่ว่าจะแน่นอนเสมอไป

“แม่ใหญ่ แล้วไข่ไก่เรายังส่งไปโรงงานขนมไข่ได้อยู่ไหมคะ?” เสี่ยวเถียนมองหวังเซียงฮวา

อีกฝ่ายถอนหายใจ “จะเป็นไปได้ยังไงล่ะ เขาไม่เอาไข่ของเรามาตั้งนานแล้ว สัญญาสิ้นสุดเมื่อหลังปีใหม่ ตอนนี้เราขายให้กับทางโรงอาหารในเมืองเป็นหลักน่ะ ตอนนี้เรามีไข่เยอะมากแทบไม่ได้ใช้ทำอะไรเลยเพราะความต้องการมีน้อย ต้องขอบคุณอาจู้จื่อเขานั่นล่ะที่ช่วยขายให้!”

หวังเซียงฮวาโกรธมากเมื่อคิดถึงเรื่องนี้ ทั้งประสิทธิภาพของฟาร์มไก่วันนี้ก็แย่ด้วย

ถ้าขืนยังเป็นแบบนี้ต่อไป เราได้เสียเงินเปล่าแน่ ยังไม่ต้องนึกถึงปันผลให้คนในกองชุมชนช่วงปลายปีเลย

[1] 吃大锅饭 กินข้าวหม้อใหญ่ เป็นสำนวนที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการดํารงชีวิตของคนจีนในสมัยช่วงปฏิวัติ เป็นระบบการจัดสรรอาหารให้กับประชาชนในคอมมูน

ในยุคนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง 人民公社 (คอมมูนประชาชน – People’s commune) ขึ้นโดยมีแนวความคิดที่ว่า ทรัพยสินทุกอย่างเป็นของรัฐ เขาจะให้ประชาชนทุกคนจะทํางานร่วมกัน โดยให้รวมหน่วยการผลิตต่างๆ (หรือกองชุมชนที่ในเรื่องเก้าพี่น้องนำมาใช้แปล) เพื่อรวมให้เป็นขนาดใหญ่ มีทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ส่วนผลผลิตที่ได้จะจากการทำงานร่วมกันจะไม่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่จะร่วมเป็นของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้จากในเรื่องว่าทุกคนไม่สามารถถือครองทรัพย์สินของตัวเองได้ และดำรงชีวิตด้วยการดูแลจัดสรรทุกอย่างจากทางรัฐ เสมือนว่าทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน

ซึ่งพวกเขามีสโลแกนว่า “吃饭不花钱” แปลว่า กินข้าวฟรีไม่เสียสักหยวน โดยกลุ่มคนในพื้นที่ชนบท คนทำไร่ทำนาเท่านั้นที่จะได้สวัสดิการนี้ ทางรัฐบาลจะทำอาหารในปริมาณมาก ๆ คล้ายกับอาหารที่โรงอาหาร เพื่อเลี้ยงคนทำงานและครอบครัวให้ทุก ๆ มื้อ แต่คนทำงานจะทำมากทำน้อยได้อาหารเท่ากันหมด ทว่าในยุคนั้นจะไม่ค่อยมีคนอู้งาน เพราะคิดว่าได้ทำเพื่อประเทศชาติ